ในฐานะชาวไมเกรนที่ก็เป็นมาหลายปีแล้วนะ แต่บางทีก็เกิดข้อสงสัยมากมายว่า
เจ้าไมเกรนนี่มันคือใคร ทำไมต้องมาทำให้ฉันปวดหัวด้วย บางทีไม่มีสิ่งกระตุ้นก็ทำให้ปวดได้
.
วันนี้สไมล์ ไมเกรน จะพามาดูกันว่า เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “ไมเกรน” มีอะไรกันบ้าง
.
โดยจะพบกับ 12 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคปวดศีรษะไมเกรน
1. โรคปวดศีรษะไมเกรน คือโรคที่เป็นความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง
2. ไมเกรนไม่จำเป็นต้องปวดข้างเดียว สามารถปวดหัวได้ทั้งสองข้าง ปวดทั่วๆหัว หรือปวดสลับข้างกันก็ได้
3. ไมเกรนมักจะมีอาการร่วม เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ กลัวแสง กลัวเสียง ได้
4. ไมเกรนเริ่มเป็นครั้งแรกได้ตั้งแต่อายุ 10 ขวบ จนถึง 80 ปี แต่เป็นมากสุดในช่วงอายุ 30-50 ปี ซึ่งไมเกรนในวัยเด็ก จะมีโอกาสเพิ่มมากขึ้นถึง 75% เมื่อทั้งพ่อและแม่เป็นไมเกรน
5. ไมเกรนมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า ซึ่งปัจจัยที่มีความเกี่ยวของมากที่สุดนั่นมาจาก “ระดับฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลง” ตัวฮอร์โมนจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับตัว trigeminal nerve ให้มีความไวต่อตัวกระตุ้นมากขึ้น ตามมาด้วยไมเกรนอาการปวดศีรษะนั่นเอง
.
ซึ่งตัวฮอร์โมนที่เป็นตัวแปรสำคัญ นั่นก็คือ “Estrogen” เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์เพศหญิง และยังควบคุมสารเคมีในสมองที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดอีกด้วย
6. สิ่งกระตุ้นที่ทำให้ปวดไมเกรนได้มากสุดคือ ความเครียด (ข้อมูลจากแอปพลิเคชัน Smile Migraine) พบถึง 80% และมีงานวิจัยได้บอกไว้ว่า ยิ่งเรามีภาวะเครียด จะยิ่งทำให้โครงสร้างของสมองเปลี่ยนได้
7. ไมเกรน จะมีสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ปวด เช่น อากาศร้อน อากาศเปลี่ยน ประจำเดือน หรือจะไม่มีสิ่งกระตุ้นก็ได้เช่นกัน
8. ไมเกรนสามารถปวดได้ตั้งแต่ 4 -72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน OMG!!
โดยอาการปวดที่ต่อเนื่อง ตั้งแต่ 4-72 ชั่วโมงแบบนี้ ถือว่าเป็นหนึ่งในอาการเด่นของโรคปวดศีรษะไมเกรนเลยก็ว่าได้
.
ถ้าชาวไมเกรนคนไหน ปวดต่อเนื่องยาวนานถึง 72 ชั่วโมง อาการปวดไม่ลดละ ถึงแม้จะทานยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs หรือแม้แต่กลุ่มที่จำเพาะกับไมเกรนเข้าไปแล้ว และมักจะพบว่า มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนหนัก เราเรียกลักษณะอาการปวดนี้ว่า status migrainosus
9. ชาวไมเกรนประมาณ 3% เป็นไมเกรนเรื้อรัง นั่นหมายถึง มีความถี่อาการปวดมากกว่า 15 วันต่อเดือน ติดต่อกันเกิน 3 เดือน
.
สไมล์ ไมเกรน มีทริคการสังเกตภาวะไมเกรนเรื้อรัง ง่ายๆ มาฝากกัน
> ปวดมากกว่า 15 วันต่อเดือน ติดต่อกันเกิน 3 เดือน
> สมองส่วนกลางไวกว่าปกติ บางทีไม่มีสิ่งกระตุ้น ก็เกิดอาการปวดเองได้
> เริ่มทานยาแก้ปวดถี่ขึ้น
> ทานยาแก้ปวดปริมาณมากขึ้น หรือบางครั้ง ทานยาตัวเดิมไม่ได้ผล
> ปวดจนกระทบต่อกิจกรรมในแต่ละวัน จนต้องพัก
10. ชาวไมเกรนที่เป็นเรื้อรัง มักจะมีโรคร่วมมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรคร่วมทางกายหรือทางด้านจิตใจ ยกตัวอย่างเช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคพังผืดกล้ามเนื้ออักเสบ โรคภูมิแพ้ เป็นต้น
11. 1 ใน 4 ของผู้ที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน จะมีอาการนำ หรือที่เราเรียกว่า ออร่า (aura) ร่วมด้วย
โดยรูปแบบการเกิดออร่าที่พบได้บ่อยนั้น มี 3 แบบหลักๆ
# ออร่าทางการมองเห็น : ตามัว ตาเห็นแสง
# ออร่าทางการพูด : พูดติดขัด คิดคำไม่ออก
# ออร่าทางความรู้สึก : ตัวชา ปากชา แขนขาชา
12. ยาไมเกรนจะมีอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ยาแก้ปวด ทานเพื่อระงับอาการปวดหัว มีระยะเวลาในการออกฤทธิ์ และกลุ่มที่ 2 ยาป้องกัน ทานเพื่อรักษาไมเกรนต้องทานต่อเนื่องทุกวัน เพื่อช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวด อย่างวิตามิน Migra ของเราก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้นะ ถ้าใครปวดมากกว่า 4 วันต่อเดือน แนะนำทานยาป้องกันได้แล้ว ก่อนไมเกรนของเราจะเป็นเรื้อรัง
.
การพิจารณาใช้ยาป้องกันไมเกรน ควรที่จะปรึกษากับทางคุณหมอระบบประสาทและสมองโดยตรง เพื่อที่จะได้รับยาป้องกันไมเกรน ในกลุ่มที่เหมาะกับโรคปวดศีรษะไมเกรนของเรานะ
แหล่งอ้างอิง :
https://www.healthline.com/health/migraine#types
https://www.webmd.com/migraines-headaches/what-is-a-migraine-with-aura