ทำความรู้จัก "ปวดศีรษะกล้ามเนื้อตึงตัว (Tensiontype Headache)

ทำความรู้จัก "ปวดศีรษะกล้ามเนื้อตึงตัว (Tensiontype Headache)

ปวดหัวแบบตึงตัว อาการ สาเหตุ และการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

อาการปวดหัวแบบตึงตัว แท้จริงแล้วเป็นโรคปวดหัวชนิดหนึ่งที่อยู่ในประเภทอาการปวดหัวแบบปฐมภูมิ (Primary Headache) เป็นโรคที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน ลักษณะอาการหลักคือความเจ็บปวดแบบเรื้อรังรอบศีรษะ, คล้ายกับการมีสายรัดรอบหน้าผาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นอาการปวดหัวแบบเป็นๆ หายๆ เกิดขึ้นประมาณ 1-2 ครั้งต่อเดือน แต่บางรายอาจปวดหัวตึงเรื้อรังจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้

.

สาเหตุของอาการปวดหัวแบบตึงตัว

ในทางการแพทย์แล้วยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการปวดหัวตึง แต่บางครั้งอาจเกี่ยวข้องกับความตึงของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและต้นคอ หรือท่านั่งที่ไม่เหมาะสม

งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า อาการปวดหัวตึงแบบไม่รุนแรงอาจเกิดจากการทำงานของเส้นประสาทรับความรู้สึกที่ไวเกินไป ซึ่งทำหน้าที่ส่งสัญญาณความเจ็บปวดจากร่างกายไปยังสมอง นอกจากนี้ ยังอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาทรับความรู้สึกกลาง หรืออาจมีอาการไวต่อความเจ็บปวดมากกว่าคนทั่วไป ปัจจัยทางพันธุกรรมก็เชื่อว่ามีผลต่ออาการปวดแบบหัวตึงได้เช่นกัน

ถึงแม้สาเหตุการเกิดยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างชัดเจน แต่มีหลายปัจจัยที่เชื่อว่ามีส่วนทำให้เกิดอาการนี้ ได้แก่

  • ความเครียด
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ปัญหาเกี่ยวกับฟัน (เช่น การกัดฟัน การนั่งขบฟัน)
  • อาการเมื่อยล้าของสายตา
  • ตาแห้ง
  • อ่อนเพลีย
  • การสูบบุหรี่
  • โรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่
  • โรคไซนัสอักเสบ
  • คาเฟอีน
  • บุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสม
  • ความเครียดทางอารมณ์
  • ดื่มน้ำน้อย
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • อดอาหาร

.

อาการปวดหัวแบบตึงตัว

ปวดหัวแบบตึงตัว (Tensiontype Headache)

อาการปวดหัวแบบตึงตัว สามารถทำให้เกิดอาการปวดระดับเบา ปานกลาง หรือรุนแรง ก็ได้ และยังมี

  • อาการปวดหัวแบบตื้อๆ
  • รู้สึกเหมือนมีอะไรกดอยู่รอบหน้าผาก
  • รู้สึกเจ็บบริเวณหน้าผากและหนังศีรษะ
  • ปวดศีรษะจนโฟกัสได้ยาก
  • รู้สึกหงุดหงิด หรืออ่อนเพลีย
  • ปวดลามไปที่ด้านหลังดวงตา ศีรษะ และต้นคอ
  • ไม่มีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมกับอาการปวดหัว
  • โดยทั่วไปอาการปวดมักจะเป็นระดับเบาหรือปานกลาง

สาเหตุและปัจจัยกระตุ้น

สาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดหัวแบบเครียดยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างชัดเจน แต่มีหลายปัจจัยที่เชื่อว่ามีส่วนทำให้เกิดอาการนี้ ได้แก่:

  • ความเครียด: เป็นปัจจัยที่เชื่อมโยงกันอย่างกว้างขวาง ความเครียดสามารถทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหัวและคอตึงตัว นำไปสู่อาการปวดหัว
  • ท่าทางที่ไม่ดี: การนั่งหรือยืนในท่าที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานานสามารถทำให้กล้ามเนื้อรอบคอและหนังศีรษะเครียด
  • ความเมื่อยล้าของตา: การใช้เวลาหน้าจอมากเกินไปหรือทำงานที่ต้องการความละเอียดสามารถกระตุ้นอาการปวดหัว
  • การขาดน้ำ: ไม่ดื่มน้ำเพียงพอเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย
  • การนอนไม่เพียงพอ: การนอนน้อยเกินไปหรือมากเกินไปสามารถนำไปสู่อาการปวดหัว

การทำความเข้าใจปัจจัยเหล่านี้สามารถช่วยในการจัดการและป้องกันอาการปวดหัวแบบเครียด

การรักษาอาการปวดหัวแบบตึงตัว

สำหรับการรักษาอาการปวดหัวแบบตึงตัว นั้นมีทั้งการรักษาทั้งที่ใช้ยา และไม่ใช้ยา 

การรักษาอาการปวดหัวแบบตึงตัวด้วยการ "ใช้ยา"

  • ยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs เช่น Ibuprofen Naproxen หรือ Aspirin แต่ก็ไม่ควรกินบ่อยๆ มากกว่า 15 วันต่อเดือน เนื่องจากต้องระมัดระวัง ยาแก้ปวดบ่อยเกินไป หรือ Medication Overuse ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดหัวเด้งกลับ หรือ ปวดหัวสะท้อนกลับ (rebound headache) ซึ่งเป็นอาการปวดหัวที่เกิดขึ้นหลังยาแก้ปวดหมดฤทธิ์
  • ยาแก้ปวด และยารักษา ที่ต้องได้รับคำสั่งจากแพทย์  ดังนี้
    • ยาต้านซึมเศร้าชนิด tricyclic antidepressants
    • ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม beta-blockers
    • Divalproex sodium
    • indomethacin
    • ยาคลายกล้ามเนื้อ กรณีที่ยาแก้ปวดไม่อยู่
    • ยาต้านอาการซึมเศร้า (SSRI) ที่จะช่วยปรับระดับ serotonin ในสมอง และช่วยรับมือกับความเครียด

.

การรักษาอาการปวดหัวแบบตึงตัวด้วยการ "ไม่ใช้ยา"

  • ดื่มน้ำมากขึ้น ควรทานให้ได้วันละ 1.5 - 2 ลิตรต่อวัน
  • รับประทานอาหารและพักผ่อนให้เพียงพอ อาการหิวและนอนไม่หลับเป็นสาเหตุของอาการปวดหัวแบบตึงตัว ลองทานอาหารว่างหรือพักสายตาสักพัก
  • การออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ นอกจากจะช่วยให้ลดภาวะความเครียด แล้วยังจะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและลดอาการปวดหัวได้ด้วย
  • Biofeedback เทคนิคการผ่อนคลายที่ช่วยให้คุณจัดการกับอาการปวดและความเครียด
  • CBT (Cognitive-behavioral therapy) บำบัดด้วยการพูดคุย ช่วยให้คุณระบุสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล และความตึงเครียด
  • การฝังเข็ม การแพทย์ทางเลือกที่อาจช่วยลดความเครียดและความตึงเครียด
  • อาบน้ำอุ่น เพื่อคลายกล้ามเนื้อที่ตึงตัว และร่างกายที่ตึงเครียดได้

ซึ่งเทคนิคเหล่านี้อาจไม่สามารถป้องกันอาการปวดหัวแบบตึงตัวได้ตลอดไป อาการของโรคนี้อาจกลับมาเป็นอีกได้ในอนาคต แต่หากคุณเริ่มเป็นรุนแรงขึ้นแล้ว แนะนำควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทและสมองเพื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมก่อนจะเป็นเรื้อรัง

-นพ.สุภาษ ธรรมพิทักษ์

รักษาไมเกรนกับหมอสุภาษ (หมอโบ๊ท)

กลับไปยังบล็อก

บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ