ยาแก้ปวดไมเกรน เลือกอย่างไรให้ใช่กับเรา?

ยาแก้ปวดไมเกรน เลือกอย่างไรให้ใช่กับเรา?

ไมเกรน เป็นโรคทางระบบประสาทที่สร้างผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตให้กับผู้คนทั่วโลกนับพันล้านคน อาการปวดหัวตุ๊บๆ บางทีคาดเดาไม่ได้ว่ามันจะมาเมื่อไหร่ บางทีมาพร้อมอาการร่วมคลื่นไส้อาเจียน แพ้แสง แพ้เสียง จนทำงานไม่ได้ เรียนลำบาก บางคนไมเกรนหนักถึงขั้นพรากความฝันไปเลยก็มี ดังนั้น ศึกไมเกรนในครั้งนี้ เราชาวไมเกรนเองจะต้องรู้ทันไมเกรนให้ได้ก่อน เหมือนรบ 100 ครั้งชนะ 1000 ครั้ง ><

.

สำหรับการรักษาไมเกรนในปัจจุบันนั้น มีทั้งที่ใช้ยาและไม่ใช่ยา โดยในครั้งนี้เราจะมากล่าวถึงการรักษาไมเกรนโดยใช้ยากันก่อนนะคะ

.

สำหรับการรักษาไมเกรนด้วยานั้น ควรอยู่ภายใต้ของคำแนะนำบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นคุณหมอหรือเภสัชกรเท่านั้นนะ เพราะการซื้อยาทานเอง เป็นอะไรที่เสี่ยงให้เกิดผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นกับร่างกายหลายอย่าง ไม่ว่าจะ แพ้ยา ได้รับผลข้างเคียงจากยา ดื้อยา รับประทานยาไม่ตรงกับระดับความรุนแรง เป็นต้น และที่สำคัญคือ ยาที่เหมาะ ที่ใช่กับคนอื่น แต่ก็อาจจะไม่เหมาะกับเราก็เป็นได้ 

.

โดยยาไมเกรนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่

  1. ยาแก้ปวดไมเกรน : เป็นยาที่ใช้ในการระงับอาการปวดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น แบ่งได้หลายกลุ่มตามระดับความรุนแรงของไมเกรน แต่ยากลุ่มนี้จะไม่ได้ช่วยในการรักษาโรคเป็นเพียงตัวช่วยในการระงับอาการชั่วคราว หากเราต้องเจอสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดไมเกรนซ้ำๆ เดิมๆ หลีกเลี่ยงได้ยาก อาการปวดก็จะกลับมาเกิดใหม่ วนเป็นวัฏจักรไมเกรน 
  2. ยาป้องกันไมเกรน : ยากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ใช้ในการรักษาตัวโรค หากคุณกำลังปวดหัวไมเกรนที่มากกว่า 4 วันต่อเดือน มีความรุนแรงสูง คุณหมอจะแนะนำให้เริ่มทานยาป้องกันไมเกรนได้แล้ว โดยยากลุ่มนี้จะเข้าไปช่วยให้ลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดลดลง แต่ยากลุ่มนี้จะต้องมีการทานทุกวันต่อเนื่องให้ได้ 2 สัปดาห์ขึ้นไปถึงจะเห็นว่าร่างกายตอบสนองต่อยารักษาหรือไม่ และแนะนำให้ทานต่อเนื่อง 4 - 6 เดือน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าไมเกรนของเราสงบแล้วจริงๆ 

.

ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงยาแก้ปวดไมเกรนกันก่อน ว่าเราชาวไมเกรน เลือกยาแก้ปวดไมเกรนแบบไหน ให้เป็นแบบที่ใช่ ที่เหมาะกับเรา สำหรับทริคในการทานยาแก้ปวดไมเกรนแต่ละครั้ง ชาวไมเกรนควรเลือกทานให้ตรงกับระดับความรุนแรงของเรา โดยระดับความรุนแรงเราจะแบ่งเป็น 3 ระดับความปวด ได้แก่

ปวดน้อย - แอปพลิเคชัน smile migriane

ปวดน้อย 

ป็นระดับที่เริ่มมีอาการตึงๆ ปวดตุ๊บๆ มีอาการนำบางอย่าง เช่น เห็นแสงซิกแซก (Aura) หาวบ่อย อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น 

  • ยาแก้ปวดที่ควรใช้ในระดับ “ปวดน้อย” 
    • Acetaminophen หรือที่รู้จักในชื่อว่า “พารา” โดยกลไกการออกฤทธิ์จะช่วยยับยัง สารเคมีที่เกี่ยวข้องกับความปวดอย่าง สารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) สามารถทานได้เมื่อเริ่มปวด โดยให้ทานครั้งละ 1 - 2 เม็ด ตามน้ำหนักตัว (10 - 15 mg ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม) ไม่ควรทานเกินวันละ 8 เม็ด/วัน ยาจะมีฤทธิ์ 4 - 6 ชั่วโมง
      • ผลข้างเคียง : ยากลุ่มนี้ทานบ่อยติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน มีผลต่อการทำงานของตับ โดยผู้ที่มีปัญหาภาวะโรคตับ ตับผิดปกติ ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง
    • Migra G ผลิตภัณฑ์ สารสกัดจากขิงและขมิ้นเข้มข้น จาก Smile Migraine Shop ที่จะช่วยลดการอักเสบ ลดอาการปวดในร่างกาย ลดการสร้างสารพรอสตาแกลนดิน ที่ทำให้ปวดและอักเสบ เนื่องจากในพืชตระกูลนี้ จะมีสารสำคัญที่ชื่อว่า Gingerol ที่เป็นสารประกอบฟีนอล ที่จะช่วยยับยั้งสารที่ก่อให้เกิดการอับเสบในร่างกายได้ นอกจากนี้สารตัวนี้ยังช่วยในเรื่องการยับยั้งการหลั่งสารซีโรโทนินที่ระบบประสาทส่วนกลางและทางเดินอาหาร จึงมีผลให้ช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยได้
      • ผลข้างเคียง : สำหรับตัวนี้เนื่องจากส่วนประกอบหลักเป็นสมุนไพรทั้งคู่ จึงไม่มีผลข้างเคียงที่ทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร รวมถึงไม่ทำให้ติดเหมือนยาแก้ปวด แต่ทั้งนี้หากในผู้ที่มีอาการแพ้ส่วนประกอบในอาหารที่มาจากขิงและขมิ้นจะไม่แนะนำ

ปวดปานกลาง - แอปพลิเคชัน Smile Migraine

ปวดปานกลาง 

เป็นระดับที่เริ่มมีอาการปวดจนต้องมีตัวช่วยระงับปวด เริ่มเป็นอุปสรรคต่อาการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ต้องพักในชั่วครู่ 

  • ยาแก้ปวดที่ควรใช้ในระดับ “ปวดปานกลาง” 

จะแนะนำเป็นกลุ่ม NSAIDs หรือ Non-steroidal antiinflammatory drugs สำหรับกลุ่มนี้จะมีอยู่หลายตัว แต่ทั้งนี้ สไมล์ ไมเกรน จะขอแนะนำเฉพาะตัวที่ชาวไมเกรนเป็นที่รู้จักและทานกันบ่อยครั้งเวลาปวดไมเกรนกันนะ

.

โดยยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs นี้  เป็นยาที่ใช้ในการลดอาการปวดและการอักเสบ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการรักษาอาการปวดหัว, ปวดเมื่อย, อักเสบจากการบาดเจ็บ, หรืออาการปวดจากโรคเรื้อรัง เช่น โรคข้ออักเสบ ยากลุ่มนี้ทำงานโดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ COX (Cyclooxygenase) ซึ่งมีสองประเภทหลักคือ COX-1 และ COX-2  เป็นเอนไซม์ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างสารโพรสตาแกลนดิน สารนี้เป็นสารตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบและอาการปวดในร่างกาย การยับยั้งเอนไซม์เหล่านี้ช่วยลดการผลิตสารโพรสตาแกลนดิน ทำให้สามารถลดอาการปวดและการอักเสบได้

.

COX-1 : เป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ในร่างกายของเราตามปกติและทำงานอย่างต่อเนื่อง มีบทบาทในการรักษาฟังก์ชันปกติของเนื้อเยื่อ เช่น ช่วยในการปกป้องเยื่อบุกระเพาะอาหารและการควบคุมการไหลเวียนของเลือด การยับยั้ง COX-1 สามารถนำไปสู่ผลกระทบข้างเคียง เช่น การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเลือดออก

.

COX-2 : เป็นเอนไซม์ที่มีการสร้างขึ้นเฉพาะเมื่อเกิดการอักเสบหรือบาดเจ็บ การยับยั้ง COX-2 ช่วยลดการสร้างสารโพรสตาแกลนดินที่เป็นสาเหตุของการอักเสบและอาการปวด ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ที่เลือกยับยั้ง COX-2 โดยเฉพาะมีประสิทธิภาพในการลดอาการปวดและอักเสบโดยมีผลข้างเคียงน้อยลงเมื่อเทียบกับยาที่ยับยั้งทั้ง COX-1 และ COX-2

.

ดังนั้น เรามาดูกันว่า ยาแก้ปวด NSIADs ที่เราคุ้นหูกันนี้ ตัวไหนบ้างที่ยับยั้ง COX-1 ที่มีผลข้างเคียงกัดกระเพาะอาหาร และตัวไหนบ้างที่เป็น COX-2 ที่ไม่กัดกระเพาะของเรา 

ยาแก้ปวดกลุ่ม NSIADs กลุ่ม COX-1 (ผลข้างเคียง : กัดกระเพาะ)

1. ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) 

2. ไดโคลฟีแน็ก (diclofenac)

3. นาพร็อกเซน (naproxen)

4. ไพร็อกซิแคม (piroxicam) 

5. เมล็อกซิแคม (meloxicam)

ยาแก้ปวดกลุ่ม NSIADs กลุ่ม COX-2 (ผลข้างเคียง : ไม่กัดกระเพาะ)

1. เซเลค็อกสิบ (celecoxib)

2. เอทอริค็อกสิบ (etoricoxib)

3. พาเรค็อกสิบ (parecoxib) 

.

แต่หากถามว่ายากลุ่มนี้ทำให้ติดได้ไหม ในชาวไมเกรนแล้ว ยากลุ่มนี้ทำให้สมองติดยาแก้ปวดได้เช่นกัน หากทานต่อเนื่องไปประมาณ 15 วันขึ้นไป ติดต่อกันมากกว่า 3 เดือน 

Severe pain500.png

ปวดมาก 

เป็นระดับที่ปวดรุนแรงถึงขั้นต้องนอนพัก ไม่สามารถทำงาน หรือกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ มักมีอาการร่วมเป็นคลื่นไส้ อาเจียน กลัวแสง กลัวเสียง 

  • ยาแก้ปวดที่ควรใช้ในระดับ “ปวดมาก” 

สำหรับเมื่อปวดมากไปแล้ว ปวดในระดับที่ใช้พารา หรือ NSIADs ไปแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น จะแนะนำยาแก้ปวดเป็นกลุ่มที่ใช้ระงับปวดอาการไมเกรนโดยเฉพาะ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Ergotamine และ Triptan 

.

Ergotamine

กลไกการออกฤทธิ์ : ตัวยาจะออกฤทธ์ไปควบคุมการขยายตัวและการหดตัวของหลอดเลือดในสมอง โดยจะทำให้หลอดหลอดที่เป็นที่มาของการเกิดไมเกรนหดตัวลง 

ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ : คลื่นไส้, อาเจียน, เกิดอาการเหน็บชาในนิ้วมือและนิ้วเท้า ตัวยาจะออกฤทธิ์ไปหดของหลอดเลือดส่วนปลายบริเวณทั่วร่างกาย จึงทำให้นำไปสู่การลดการไหลเวียนของเลือดได้ และในบางรายพบอาการนอนไม่หลับ เนื่องจากตัวยาบางแบรนด์จะมีส่วนประกอบของ Caffeine ร่วมด้วย

ข้อห้ามใช้ Ergotamine : 

  • ผู้ป่วยที่มีประวัติโรคหลอดเลือด รวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
  • ผู้ที่มีอาการหรือปัญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือดไม่ปกติ
  • ควรหลีกเลี่ยงในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ เนื่องจากสามารถนำไปสู่การลดการไหลเวียนของเลือดไปยังมดลูกและอาจส่งผลต่อทารกได้

.

Triptans

กลไกการออกฤทธิ์ : Triptans ทำงานโดยการเป็น agonists ต่อตัวรับเซโรโทนิน (serotonin receptors), โดยเฉพาะตัวรับ 5-HT1B และ 5-HT1D บนหลอดเลือดและปลายประสาท การกระตุ้นตัวรับเหล่านี้ช่วยให้หลอดเลือดสมองหดตัวและลดการปล่อยสารที่ก่อให้เกิดอาการปวด ซึ่งช่วยระงับอาการปวดไมเกรนได้เฉพาะจุดมากกว่า Ergotamine 

ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ : สำหรับที่พบได้บ่อยคือ รู้สึกอึดอัดหรือคับแน่นที่อก, คอ, หรือขากรรไกร, ความรู้สึกหนักของแขนหรือขา, ปวดกล้ามเนื้อ, และอาการเหนื่อยล้า เราเรียกอาการนี้ว่า Triptan Sensation โดยอาการดังกล่าวจะหายไปเองเมื่อยาหมดฤทธิ์ ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถนอนพัก ทานน้ำตามเข้าไปเยอะๆ และผลข้างเคียงที่น้อยพบได้แก่ การแดงของผิวหนัง, ความรู้สึกชา, วิงเวียน, และความรู้สึกไม่สบายตัว

ข้อห้ามใช้ Triptan :

  • Triptans ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, หรือโรคหลอดเลือดส่วนปลายที่ผิดปกติ เช่น โรคหลอดเลือดแข็งตัว
  • ห้ามใช้ร่วมกับยาประเภท Ergotamine ภายใน 24 ชั่วโมง เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่รุนแรง
  • ควรใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีประวัติความดันโลหิตสูง

.

โดยที่ยาทั้ง 2 กลุ่มนี้ ไม่แนะนำให้ทานมากกว่า 10 วันต่อเดือน ต่อเนื่องกันมากกว่า 3 เดือน นั้นจะส่งผลให้เข้าสู่ภาวะสมองติดยาแก้ปวด หรือทานยาแก้ปวดเกินขนาด (Medication Overuse)

.

และนี่ก็เป็นอีกทริคหนึ่งในข้อแนะนำในการทานยาแก้ปวดไมเกรน แต่หากเริ่มรู้สึกปวดบ่อย เจอสิ่งกระตุ้นที่อาจหลีกเลี่ยงได้ยาก ปวดรุนแรงมากกว่า 4 วันต่อเดือนขึ้นไป จะแนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทและสมอง เพื่อปรึกษาและรับยาป้องกันไมเกรนสำหรับรักษาไมเกรน ก่อนที่จะเป็นเรื้อรัง 

.

/พตต.พญ.จุฑาทิพย์ รัตนพันธ์ (หมออ้อม)

พตต.พญ.จุฑาทิพย์ รัตนพันธ์ Smile Migraine

อ้างอิง ; 

กลับไปยังบล็อก

บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ