ผู้หญิงประมาณ 40% มีประสบการณ์ในการเป็นไมเกรนช่วงวัยเจริญพันธุ์ และ 70% ของผู้ป่วยไมเกรนเพศหญิง รายงานว่ามีการเปลี่ยนแปลงความถี่ของอาการปวดศีรษะไมเกรนหรือความรุนแรง ทั้งในช่วงระหว่างมีประจำเดือน การใช้ยาฮอร์โมนคุมกำเนิด การตั้งครรภ์และวัยหมดประจำเดือน เห็นชัดได้ว่า ไมเกรน มีความสัมพันธ์ที่การตอบสนองของฮอร์โมนเพศหญิงนั่นเอง นอกจากเฉพาะในการจัดการกับไมเกรนในผู้หญิงจะมีความเกี่ยวกับฮอร์โมนแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการรักษาไมเกรนช่วงตั้งครรภ์หรือช่วงให้นมบุตร
การจัดการไมเกรนให้มีประสิทธิภาพในระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตร ถือเป็นเรื่องท้าทาย เช่นเดียวกันการรักษาความรุนแรงของไมเกรน ที่อาจมีความรุนแรงมากขึ้นในบางคนในช่วงตั้งครรภ์โดยที่ต้องมีความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ถือว่าเป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษอีกด้วย
ในรายงานล่าสุดที่ตีพิมพ์ในรายงานของ สมาคม Current Pain and Headache ของ Simy K. Parikh, แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จากศูนย์โรคปวดศีรษะเจฟเฟอร์สันที่ Thomas Jefferson University ในฟิลาเดลเฟียรัฐเพนซิลเวเนีย มีการงานวิจัยศึกษา วิธีการป้องกันไมเกรน ในช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร อีกทั้งยังไม่ส่งผลต่อภาวะการแท้งอีกด้วย มาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง
1.การป้องกันการเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน ช่วงตั้งครรภ์
ในหญิงตั้งครรภ์ เราจะพยายามให้ทานยาแก้ปวดน้อยที่สุด นอกจากนี้ ยาแก้ปวดทางเลือกที่มีความปลอดภัยต่อทารกยังจำกัด ดังนั้น การป้องกัน ไม่ให้ปวดหัวไมเกรนกำเริบ จึงเป็นทางเลือกที่จำเป็น ยาป้องกันไมเกรน ในกลุ่ม ยากันชัก เช่น Valproic acid, Topiramate เป็นข้อห้ามในหญิงต้ังครรภ์ นอกจากนี้ กลุ่มยาต้านเศร้า เช่น Amitryptylline ยังต้องระวังมากด้วย เพราะมันอาจมีผลต่อการทำงานของหัวใจได้ โดยยาป้องกันที่มีการแนะนำคือกลุ่มยา Propranolol ที่เป็นยาในกลุ่มยาลดความดันที่นำมาใช้ป้องกันไมเกรน อย่างไรก็ตาม ต้องระวังหน้ามืดจากความดันโลหิตที่ลดลง นอกจากนี้ ยากลุ่มนี้ ยังห้ามใช้ในโรคหอบหืดและโรคซึมเศร้าอีกด้วย
ในบรรดาทางเลือกในการใช้ยาป้องกัน ผู้เชี่ยวชาญต่างแนะนำว่า การใช้กลุ่มวิตามิน แร่ธาตุเสริมในการป้องกันไมเกรน จึงเป็นทางเลือกที่ดี
จากการศึกษาวิจัยพบว่า กลุ่ม แมกนีเซียม (Magnesium) วิตามิน บี 2 (Riboflavin) และ โคเอนไซม์ Q10 (Co-enzyme Q10) มีประสิทธิภาพในการป้องกันไมเกรน เป็นอย่างดี โดยที่การออกฤทธิ์อาจเริ่มตั้งแต่ 2 สัปดาห์ และจะเห็นผลอย่างชัดเจนเมื่อทานไป 2 เดือน โดยที่ข้อมูลในการใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร มีความปลอดภัยสูง
——
MIGRA PLUS ระงับไมเกรนด้วยส่วนผสมที่ทรงพลัง กับ Migra Plus ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมตามหลักฐานงานวิจัยว่าใช้ได้ผลในการรักษาไมเกรน
Migra Plus มีส่วนประกอบของ Magnesium, Riboflavin, Co-enzyme Q10, Pumpkin Seed Extract ระดับเกรดผลิตยา (Pharmaceutical grade) ที่จะช่วยเพิ่มพลังงานให้เซลล์สมองผ่านไมโทรคอนเดรีย ที่ทำหน้าที่ผลิตพลังงานให้เซลล์
Line@ : @migrashop
——-
2. การรักษาด้วยยาแก้ปวดขณะตั้งครรภ์
หากหญิงตั้งครรภ์มีอาการปวดไม่มาก การแนะนำจะเน้นไปที่การรักษาโดยไม่ใช้ยา ได้แก่ การผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น หรือทานยาที่มีผลข้างเคียงต่ำ ได้แก่ Acetaminophen (Paracetamol)
แต่ในกรณีที่มีอาการปวดรุนแรงขึ้น ในการใช้ยาที่ออกฤทธิ์รยับยั้งสาร prostaglandin เช่น ยาต้านการอักเสบ ยา NSAIDs จะไปเพิ่มโอกาสการคลอดก่อนกำหนด เมื่อทานในไตรมาสที่ 3 และมีข้อห้ามใช้ แต่ในงานวิจัย ล่า สุดมีการศึกษา พบว่า Ibufen นั้นปลอดภัยในในไตรมาสที่ 2 อีกงานวิจัยพบว่า metoclopramide (ยาแก้คลื่นไส้-อาเจียน ) นั้นมีความปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์ตั้งแต่ไตรมาศแรก
สำหรับยาแก้ปวดไมเกรนในกลุ่มยาจำเพาะต่อไปเกรน ยากลุ่ม Ergotamine ถือว่าเป็นข้อห้ามใช้ เนื่องจากอาจทำให้หลอดเลือดหดตัวและทารกขาดเลือดจนทำให้เกิดการแท้งบุตรได้ ส่วนยาในกลุ่ม Triptan มีงานวิจัยที่ศึกษาย้อนหลังกลุ่มหญิงต้ังครรภ์ที่มีการใช้ Triptan ในการแก้ปวดไมเกรน พบว่า ยังไม่พบว่ามีผลต่อบุตรอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น จึงสงวนแนะนำให้กรณีหากปวดรุนแรงได้
3.การป้องกันไมเกรน ในช่วงให้นมบุตร
สิ่งหนึ่งที่ต้องทราบคือว่า ยาที่ห้ามใช้ในช่วงตั้งครรภ์ อาจไม่เป็นข้อห้ามในช่วงให้นมบุตรก็ได้ โดยพบว่า Topiramate มีปลอดภัยระดับปานกลาง สำหรับใช้ในระหว่างการให้นม แต่ยา Valproic Acid นั้น ยังควรหลีกเลี่ยง
ส่วนยาลดความดัน เช่น Propranolol มีความปลอดภัยสูง เพราะ ไม่มีสารตกค้างไปในพลาสมา ที่ส่งไปถึงทารก แต่อาจต้องระวังภาวะซึมเศร้า ที่ Propranolol อาจไปกระตุ้นคุณแม่มือใหม่ที่อาจเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตรได้
ยากลุ่มต้านซึมเศร้า กลุ่ม Tricyclic Antidepressants จะมีสารบางอย่างที่มีการดูดซึมผ่านไปทางน้ำนมแม่ในแต่มีในปริมาณน้อย และควรติดตามผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น การดูดนม ลดลง ปากแห้ง ซึมลง หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ได้
ส่วนยาในกลุ่ม vitamin ที่ได้กล่าวว่ามีความปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์ได้แก่ Magensium, Riboflavin และ Co-enzyme Q10 ก็ยังคงมีความปลอดภัยแก่หญิงช่วงให้นมบุตร
4. ยาแก้ปวดไมเกรนในช่วงให้นมบุตร
Ibufen เป็นยา NSAIDs ที่เหมาะสมในช่วงให้นมบุตร และจากการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าระดับยาในน้ำนมมีระดับต่ำมาก ถึงแม้จะทานในปริมาณที่มากก็ตาม
Naproxen มีผลกับอาการง่วงนอน และอาการอาเจียนในทารกได้
ควรหลีกเลี่ยงแอสไพริน เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการของ Reye’s Syndrome (กลุ่มอาการที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อสมอง และตับ ผู้ป่วยมักมีอาการอาเจียนอย่างต่อเนื่อง กระสับกระส่าย หรือ หมดสติได้ )
ส่วนยาแก้ปวดที่จำเพาะ Sumatriptan และ eletriptan มีความเข้มข้นต่ำในน้ำนมแม่ ดังนั้น สามารถใช้ได้