เป็นไมเกรน รับมืออย่างไร ไม่ให้สูญเสียงาน

เป็นไมเกรน รับมืออย่างไร ไม่ให้สูญเสียงาน

migraine-at-work.png

ไมเกรนเป็นโรคที่มีผลกระทบต่อสุขภาพนอกจากนี้ยังกระทบชิ่งไปยังประสิทธิภาพในการทำงาน ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการสำรวจคนวัยทำงานพบว่า ไมเกรนทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงกว่า 40% และอีกจำนวนไม่น้อยที่ต้องหยุดงานอันเป็นผลเนื่องจากปวดศีรษะไมเกรน

ลางานบ่อย ๆ หรือ ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ดีแน่ เพราะอาจเป็นผลของการ สูญเสียงาน ได้ แม้ว่าจะมีหนังสือแนะนำวิธีการรักษาไมเกรนมากมาย กลับมีน้อยบทความที่แนะนำหรือกล่าวถึง “ถึงวิธีการรับมือกับไมเกรนที่เป็นอย่างเรื้อรัง และไม่สูญเสียอาชีพที่คุณทำอยู่” 

ไม่ว่าลักษณะอาชีพที่คุณทำอยู่นั้นจะเป็นแบบไหน ทั้งเวลา สถานที หรือทักษะความสามารถพิเศษ ของคุณคืออะไร จากข้อมูลของงานวิจัยไมเกรน 90% ของผู้ป่วยไมเกรนกล่าวว่า พวกเขาไม่สามารถทำงานได้ตามปกติในระหว่างการปวดหัวไมเกรน นั่นเป็นจำนวนที่เยอะมาก แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า แล้ว 10% ของคนที่เป็นไมเกรน แล้วยังทำงานได้ปกตินั้นเป็นใคร

คนที่เป็นไมเกรนไม่กระทบกับงาน บางทีเราอาจมองอีกมุมได้ว่า หรือว่า จริง ๆ แล้ว การทำงานนั้นมันไม่ได้กระตุ้น หรือไม่ได้ไปกระทบกับไมเกรนกันแน่ วันนี้ เรามาดูวิธีในการปรับงาน หรือ เลือกงาน ที่ไม่กระทบกับไมเกรนกัน 

5 วิธีที่จะช่วยให้คุณมีอาชีพที่รัก แม้จะเป็นไมเกรน

1. ค้นหาความยืดหยุ่น

คุณอาจจะคิดว่า งานคือชีวิต แต่หากงานนั้นมีข้อจำกัดในเวลาที่มากไปในการทำงานที่มีมีผลกระทบต่อไมเกรน เจ้าโรคร้ายก็กระทบกับชีวิตของคุณเช่นกัน 

การเลือกงานที่มีความยืดหยุ่นสูงก็เป็นทางเลือกหนึ่ง เลือกงานที่จ่ายเงินให้คุณ ตามคุณภาพของงาน ไม่ใช่งานที่บังคับให้คุณทำเป็นเวลา 9 โมเงเช้า ถึง 5 โมงเย็น คือการมองหาบบริษัทที่จ่ายเงินตามผลสำเร็จของงานที่คุณได้รับมอบหมายนั้นเอง เช่น นักเขียน โปรแกรมเมอร์ พนักงานขาย พนักงานบริการลูกค้าและอื่น ๆ มีความยืดหยุ่นที่ดี แต่อาชีพอื่นๆเช่น พนักงานออฟฟิศ, พนักงานค้าปลีก พนักงานร้านอาหาร คนงานในโรงงาน ทั่วไปแล้ว เราพบว่า อาจทำให้ไมเกรนกำเริบบ่อยขึ้น และไม่หายสักที 

“คุณเอม อดีตพนักงานขายสาวชาวไมเกรนที่ทำงานร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่งได้เล่าให้ฟังว่า ในช่วงนั้น ไมเกรนเป็นบ่อยมาก ๆ ไม่ว่าจะไปหาหมอให้รักษาด้วยยามากมาย แต่อาการก็ไม่ลดลงเสียที ในที่สุดก็ต้องกลับมาสังเกตตัวเองและพบว่า การทำงานที่เป็นกะ ไม่ตรงเวลาชีวิตของคนปกติ มันเป็นตัวกระตุ้น ปัจจุบัน คุณเอม ประกอบอาชีพค้าขายส่วนตัว ที่มีเวลาทำงานเป็นเวลา มีความสุขทั้งชีวิต ควบคุมได้ และไมเกรน ไม่ค่อยมาเยือน”


2. รวมทีม

เจ้าของกิจการเล็กๆ และคนทำงานอิสระ ไม่มีแผนสำรองเมื่อพวกเค้ามีอาการปวดไมเกรน แนะนำว่า ให้หางานที่มีเพื่อนร่วมงานของคุณนั้นสามารถทำงานแทนคุณได้ หรือช่วยเหลือคุณได้ในบางส่วน

ตัวอย่างคุณหน่อย ที่ป็นครูประถมชั้นปีที่ 1 เมื่อเธอปวดไมเกรน มันจะทำให้เธอไม่สามารถสอนนักเรียนได้เลย เธอเลยเปลี่ยนเป็นสอนเด็กอนุบาลแทน ซึ่งทางโรงเรียนก็อนุมัติให้เธอสอนแบบทีมได้ ร่วมกับคุณครูท่านอื่น เมื่อเธอมีอาการปวดไมเกรน เธอก็สามารถเลือกให้เพื่อนมาช่วยงานได้ แล้วเมื่อเธอหายปวดไมเกรน เธอก็ค่อยไปสอนคาบที่หายไปแทน

3. ปรับเปลี่ยนพื้นที่การทำงานของคุณ

เจ้านายของคุณไม่ต้องการให้คุณป่วยและต้องลางาน คุณเองก็สามารถขอความช่วยเหลือจากเขาเพื่อให้ช่วยลดสิ่งกระตุ้นไมเกรนได้ เช่น แสง เสียง กลิ่น ความร้อน ความชื้น เป็นต้น  

คุณเจนเพื่อนร่วมงานชาวไมเกรนของฉันเป็นตัวอย่างที่ดี  เขาไม่ลังเลที่จะเปลี่ยนหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่แสงจ้ามาก ที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้เขาปวดไมเกรน ให้เป็นแสงไฟที่อ่อนลง เพื่อที่ช่วยให้เขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนะ บางทีการใส่ใจสิ่งแวดล้อม ก็มีผลนะ 


4. หางานที่มีสวัสดิการทางสุขภาพที่ดี 

งานทุกตำแหน่ง และของทุกบริษัท แม้ว่าจะมีลักษณะงานเหมือนกัน แต่ว่า การดูสวัสดิการ โดยเฉพาะในด้านสุขภาพ ถือว่าสำคัญ ไมเกรนเป็นโรคที่ต้องรักษาต่อเนื่อง ยาไมเกรนก็มีหลายแบบ หลายชนิด และแน่นอน ยาที่มีประสิทธิภาพสูง บางทีมันก็ไม่สามารถได้รับการเยียวยาจากบางบริษัทได้ 

ในสายงานข้าราชการ ที่มีสวัสดิการของรัฐ เป็นสวัสดิการที่มีความยอดเยี่ยม รวมถึง ในบริษัทใหญ่ ๆ อีกด้วย เพราะการมีพื่นฐานการดูแลสุขภาพที่ดี ทำให้คุณสามารถเข้าถึงยาและหมอที่เก่ง ๆ ได้ คุณจะกังวลในการดูแลสุขภาพน้อยลง

 

5. CEO ต้องเข้าใจ

หากคุณเป็นพนักงานที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของหัวหน้างาน ต้องบอกให้เค้าเข้าใจว่า เราเป็นไมเกรน ไมเกรนไม่ใช่โรคที่เลวร้ายและน่ารังเกียจ ใคร ๆ ก็เป็นได้ เหมือน ออฟฟิตซินโดรม ที่มีอาการปวดเรื้อรัง และสัมพันธ์กับการทำงานหนัก 

บอก CEO ว่า มีโรคไมเกรน ที่อยู่ในสภาวะไหน ทำให้มีความเข้าใจ และมันก็ทำให้เราปลดความเครียดด้วย CEO มากมายที่คอยช่วยเหลือลูกน้องอย่างเห็นอกเห็นใจ และมันก็ทำให้เราทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นรางวัลตอบแทน

Footer Tele Blog - Ai (6).png

กลับไปยังบล็อก

บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ