Butterbur และ Feverfew ช่วยไมเกรนได้จริงไหม?

Butterbur และ Feverfew ช่วยไมเกรนได้จริงไหม?

สมุนไพร  Butterbur และ Feverfew ช่วยลดไมเกรน

วันนี้ทีมสไมล์ ไมเกรน จะพาชาวไมเกรนทุกคนมาทำความรู้จักกับสมุนไพรจากต่างประเทศ

ซึ่งมีงานวิจัยได้บอกไว้ว่า สามารถลดไมเกรนได้จริง และมีการนำมาใช้ในการรักษาโรคไมเกรน มาหลายสิบปี

.

โดยเราจะเริ่มมาทำความรู้จักกับหนึ่งสมุนไพรที่ชื่อ “Feverfew” กันก่อน 

สมุนไพรตัวนี้เป็นพืชที่อยู่ในตระกูลดอกเดซี่ ที่สามารถช่วยรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน ลดอาการคลื่นไส้อาเจียนและเวียนศีรษะได้

.

ในช่วงหลายศตวรรษ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 ต่างประเทศมีการนำ Feverfew มาใช้ในการรักษาไมเกรนอย่างแพร่หลาย โดยมีการนำมาทดลองกับคนไข้ไมเกรนจำนวน 270 คน โดยมีการให้ทานตัวสมุนไพร Feverfew สด เฉลี่ยวันละ 2-3 ใบ

.

ผลพบว่า อาการปวดศีรษะไมเกรน ดีขึ้นมากถึง 70%

จากงานวิจัยในหลอดทดลอง พบว่า สารประกอบที่อยู่ใน feverfew ไม่ว่าจะเป็น parthenolide และ tanetin สามารถช่วยลดการสร้าง prostaglandin ที่มีส่วนในการสร้างกระบวนการอักเสบ ซึ่งนำมาให้สู่อาการปวดศีรษะไมเกรนนั่นเอง หรือเราเรียกว่าช่วง “Migraine attack”

.

และมีงานวิจัยในชาวไมเกรนมากถึง 4 ใน 6 การศึกษาพบว่า ตัว feverfew สามารถช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดศีรษะไมเกรนได้

.

ซึ่งปริมาณในการทานตัว feverfew เราจะทานครั้งละประมาณ 100-300 มิลลิกรัมต่อวัน และวันละประมาณ 3 ครั้งต่อวัน ซึ่งจะเป็นปริมาณที่หลายๆงานวิจัยบอกแล้วว่า มีประสิทธิภาพในการป้องกันไมเกรนมากที่สุด

.

และจากรายงานในต่างประเทศ ตัวสมุนไพร Feverfew มีประโยชน์ต่อสุขภาพด้านอื่นๆ ด้วย

  •  สามารถลดกระบวนการอักเสบ มีผลทำให้ลดปวดได้
  • มีการศึกษาในหนู พบว่าสามารถลดอาการวิตกกังวลได้ แต่ยังคงต้องมีการนำไปศึกษาในมนุษย์อย่างละเอียดต่อไป

.

แล้วการที่เราทานตัว Feverfew จะมีผลข้างเคียงอะไรกับร่างกายด้วยไหมนะ?!

สามารถพบผลข้างเคียงได้ ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยๆ จะมีในเรื่องของท้องเสีย ท้องผูก คลื่นไส้ มึนงงและบางรายอาจมีพบอาการร้อนกลางอกได้

.

ต่อไป เราจะมาทำความรู้จักกับอีกหนึ่งสมุนไพร ที่ชื่อ Butterbur นี่มันคืออะไรกัน?

Butterbur เป็นพืชจากยุโรป ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับดอกเดซี่

ซึ่งใน Butterbur มีสารประกอบสำคัญที่มีชื่อว่า Petasin ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสารตัวนี้จะช่วยลดการเกิดกระบวนการอักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อของเราผ่อนคลายมากขึ้น รวมไปถึงจะทำให้การไหลเวียนเลือดบริเวณสมองดีขึ้นนั่นเอง

.

ในปี 2012 ทาง American Migraine Academy ได้ออกมาแนะนำว่า สามารถนำ Butterbur มารักษาและป้องกันโรคปวดศีรษะไมเกรนได้

.

ซึ่งใน Butterbur บางชนิด จะมีสารเคมีที่เรียกว่า pyyolizidine alkaloids (PAs) ซึ่งสามารถทำลายตับได้ เวลาที่เราจะใช้ เราต้องเลือกผลิตภัณฑ์ ที่เขียนว่า ปราศจากสาร PAs (PA-free)

.

จากงานวิจัย มีการนำ Butterbur ไปรักษาในผู้ป่วยจำนวน 108 คน โดยให้ทานอย่างต่อเนื่องทุกวัน ประมาณ 50-150 มิลลิกรัม หลังจากนั้นประมาณ 4 เดือน ผลงานวิจัยพบว่า 77% ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษา ความถี่ของอาการปวดไมเกรน ลดลงมากกว่า 50%

.

ผลข้างเคียงจากการทานตัวสมุนไพร Butterbur สามารถเจอผลข้างเคียงอะไรได้บ้าง?

  • เรอ 
  • คันบริเวณดวงตา
  • ท้องไส้ปั่นป่วน 
  • อ่อนล้า 
  • กระสับกระส่าย

.

ข้อควรระวังในการใช้มีในกลุ่มไหนบ้างล่ะ?

  • ชาวไมเกรนที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
  • ชาวไมเกรนทีมีโรคตับร่วมด้วย

.

การใช้สมุนไพรเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะสามารถป้องกันไมเกรนได้ แต่ยังไงยังมีข้อควรระวังที่ควรจะศึกษาให้ละเอียดก่อนการใช้งานร่วมด้วยนะชาวไมเกรน

.

ถ้าใครไม่มั่นใจ แต่อยากใช้ สามารถสอบถามกับทางแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญได้เลย

แหล่งที่มา : 

https://www.mountsinai.org/health-library/herb/feverfew

https://www.healthline.com/nutrition/feverfew#side-effects

https://www.healthline.com/nutrition/butterbur-for-migraines#effectiveness

https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-649/butterbur

Footer Tele Blog - Ai (7).png

กลับไปยังบล็อก

บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ