ยาแก้ปวดที่สามารถช่วยลดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ ที่เหมาะกับปวดน้อยถึงปานกลาง
ที่ชาวไมเกรนหลายๆ คน มักพกไว้ติดตัว นั่นก็คือ ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs หรือ non-steroidal anti inflammatory drugs ยกตัวอย่างเช่น naproxen ibuprofen aspirin
.
วิธีการใช้ยาแก้ปวดกลุ่มนี้ นั่นก็คือ
1. ต้องทานหลังมื้ออาหารทันทีเท่านั้น เนื่องจากระคายเคืองกระเพาะอาการ
2. ไม่ควรใช้ซ้ำซ้อน มากกว่า 1 ชนิด เพราะทำให้เพิ่มผลข้างเคียงที่มากขึ้นได้
.
แต่วันนี้ทีมสไมล์ ไมเกรน เราจะมาทำความรู้จักกับ 2 ตัวแม่ ยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs
ที่ American migraine foundation ได้บอกไว้ว่า ตัวยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs
ที่มีประสิทธิภาพในการลดปวดเป็นอันดับต้นๆ ได้แก่
> Naproxen (นาพรอกเซน) ขนาดยาที่ใช้ ไม่ควรเกิน 1000 มิลลิกรัมต่อวัน
> Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) ขนาดยาที่ใช้ ไม่ควรเกิน 2400 มิลลิกรัมต่อวัน
.
ซึ่งทั้งสองตัวยานี้ สามารถทานร่วมกับกลุ่ม Triptan ได้ ซึ่งจากงานวิจัยได้บอกไว้ว่า ในช่วงที่เราปวดศีรษะรุนแรง ถ้าเราทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ร่วมกับกลุ่ม Triptan จะทำให้ประสิทธิภาพในการลดปวด สูงกว่า การทานยาแก้ปวดตัวใดตัวหนึ่งอย่างเดียว
.
ซึ่งยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs ไม่ควรทานตอนท้องว่าง เพราะขึ้นชื่อว่ามีฤทธิ์กัดกระเพาะได้
แต่มียาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs อีกประเภทนึงนะ ที่ทางการแพทย์เรียกว่า COX-2 inhibitors
.
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า เอนไซม์ COX นี่คืออะไร?!
COX คือ เอนไซม์ที่ชื่อ cyoclooxygenase โดยเอนไซม์ จะแบ่งเป็น COX-1 และ COX-2
# COX-1 : เป็นเอนไซม์ที่สร้างสารเคมีที่ช่วยดูแลสมดุลของร่างกายในภาวะปกติ
# COX-2 : เป็นเอนไซม์ที่สร้างสารเคมีที่ไม่ปกติ เช่น สร้างสารเคมีที่ทำให้เกิดอาการปวด
.
ซึ่งกลุ่มยานี้มันชื่อ COX-2 inhibitors ตรงตัวเลย นั่นก็คือการยับยั้งเอนไซม์ ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ ทำให้ยากลุ่มนี้จะเกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารน้อยกว่ายาในกลุ่มอื่น
.
ซึ่งยาในกลุ่มนี้มักจะลงท้ายด้วยคำว่า -coxib (คอกซิบ) ไม่ว่าจะเป็น etoricoxib, celecoxib
.
หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่า แล้วยาแก้ปวดแบบ COX-2 inhibitors มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ 2 ตัวแม่ NSAIDs หรือไม่
.
มีงานวิจัยได้ทำการเปรียบเทียบระหว่างตัวยา Ibuprofen และ Rofecoxib ในการรักษาไมเกรน ผลพบว่า ยาทั้ง 2 ตัว มีประสิทธิภาพในการลดปวดไมเกรนได้ทั้งคู่
.
ซึ่งเมื่อดูในเรื่องของผลข้างเคียงของการทานยา พบว่า ผู้ป่วยไมเกรนที่ใช้ยา Rofecoxib ไม่พบผลข้างเคียง แต่อีกกลุ่มที่ใช้ Ibuprofen พบว่ามีอาการปวดท้องร่วมด้วย
.
ซึ่งชาวไมเกรนอย่าพึ่งนิ่งนอนใจนะ เพราะยังคงต้องใช้อย่างระมัดระวังในผู้ที่มีโรคกระเพาะอาหารร่วมด้วยนั่นเอง
.
แต่เมื่อพูดถึงยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs สามารถเกิดภาวะ medication overuse headache หรือภาวะติดยาแก้ปวดได้เหมือนกัน จดไว้เลยว่า ไม่ควรทานเกิน 15 วันต่อเดือน ติดต่อกันเกิน 3 เดือนนะ
.
โดยอาการติดยาแก้ปวดสังเกตได้ง่ายๆจาก 5 อาการ!
มีอะไรกันบ้าง มาเช็คอาการกันเลย
✅ตื่นมาตอนเช้าก็ปวด
✅ปวดหัวบ่อยขึ้น
✅มีแนวโน้มไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวด
✅อาการปวดจะดีขึ้นเมื่อทานยา แต่พอยาหมดฤทธิ์ อาการปวดก็จะกลับมาเหมือนเดิม
✅ปวดแม้จะไม่มีสิ่งกระตุ้น
.
นอกจากที่มีผลกระทบต่อทางเดินอาหาร ที่ชาวไมเกรนหลายๆคนทราบกันแล้ว ตัว NSAIDs ถ้าเราทานไม่เหมาะสม จะส่งต่อระบบต่างๆในร่างกายอีกด้วย
.
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs
✅มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร กัดกระเพาะ มีแผลในกระเพาะอาหาร
✅เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง
✅เสี่ยงต่อการเกิดไตวาย เพราะตัวยาแก้ปวด อาจทำให้เกิด ภาวะบวมน้ำ แทสเซียมในเลือดสูงได้
.
อย่างนั้นแล้ว การทราบชื่อยาที่ทาน ปริมาณที่สามารถทานได้ในแต่ละวัน รวมไปถึงข้อควรระวังต่างๆ จะทำให้ชาวไมเกรน สามารถเลือกใช้ยาแก้ปวดได้ดีมากขึ้นน้า
.
และการใช้ยาแต่ละตัว ควรอยู่ภายใต้แพทย์และเภสัชกร ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น