ชาวไมเกรนเคยเป็นกันไหม?!
หลังจากเล่นมือถือ ดูโทรทัศน์ รู้สึกปวดหัวมาตุ๊บๆ บางทีรู้สึกนอนไม่หลับด้วย
ลองสังเกตกันก่อน ว่าคุณมีพฤติกรรมแบบนี้กันหรือไม่?!
- เล่นมือถือก่อนเข้านอน ถึงแม้จะไม่ใช่ชาวไมเกรน
จะรู้สึกเลยว่า เรานอนหลับได้ยากมากขึ้น หรือกว่าจะนอนได้ ต้องพลิกไปพลิกมาไม่ต่ำกว่า 30 นาที
.
- เอาโทรศัพท์ไว้ใกล้ตัว ใกล้เป็นหยิบมาเล่น
.
หารู้ไม่ มันมาจากแสงสีฟ้านะชาวไมเกรน
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ “แสงสีฟ้า” กัน
.
จากนักวิจัยที่ได้มีการศึกษาในปี 2016 พบว่า ไม่ใช่แค่สีน้ำเงินเท่านั้น แต่มีทั้งสีแดง สีเหลืองอำพัน (Amber) และสีขาว ที่ทำให้อาการไมเกรนั้นแย่ลง
.
โดยเหตุผลที่ทำให้สีน้ำเงิน เป็นสีที่กระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรนมากว่าสีอื่นนั้นเพราะ สีน้ำเงินจะเข้าไปรบกวนกระบวนการประมวลผลและรับแสงของสมอง
.
สำหรับผู้ที่มีแนวโน้มของสมองที่ไวต่อสิ่งเร้าเป็นพิเศษอย่างไมเกรนนั้น จึงทำให้กระตุ้นอาการปวดหัวได้ง่ายและรุนแรง
.
โดยวันนี้ทีมสไมล์ ไมเกรน จะมาสรุปให้ดูง่ายๆ ใน 4 ประเด็นสำคัญ เกี่ยวกับ แสงกัน
.
1. Blue Light Can Cause Headaches and Migraines
(แสงสีฟ้าสามารถทำให้ปวดศีรษะแล้วก็กระตุ้นไมเกรนได้)
แสงสีฟ้า ที่ว่านี้ เป็นคลื่นแสง ที่มีความยาวคลื่นสั้นอยู่ที่ 380 -500 นาโนเมตร
เป็นช่วงของคลื่นแสงที่สายตามนุษย์จะเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ปกติสายตาคนเราจะเห็นช่วงควายาวคลื่นที่ 400-700 นาโนเมตร
.
โดยแสงสีฟ้านั้นจะมีทั้งประโยชน์ คือ ช่วยให้ร่างกายตื่นตัวเป็นเหมือนนาฬิกาชีวิต
แต่โทษคือ อาจจะทำให้สายตาของเราเกิดการซับแสงสีฟ้าเป็นจำนวนมาก นำมาสู่การเกิดกล้ามเนื้อตาของเราอ่อนล้าและปวดตา และที่แน่ๆ คือ กระตุ้นไมเกรน
.
ซึ่งช่วงคลื่นแสงของแสงสีฟ้านี้ ช่างมีความไม่บังเอิญที่ตรงกับช่วงคลื่นแสงที่กระตุ้นไมเกรนที่สุด
นั่นคือ 480 - 500 นาโนเมตร ตามงานวิจัย และยังพบว่า เป็นช่วงความยาวคลื่นแสงที่จะทำให้เรารู้สึกไม่สบายตามากที่สุด
.
2. Blue Light Can Negatively Affect Your Sleep (แสงสีฟ้าสามารถทำให้การนอนของเราไม่มีประสิทธิภาพ)
แสงสีฟ้า มีผลต่อ circadian rhythm หรือนาฬิกาชีวิต
หากได้รับแสงสีฟ้าจากหน้าจอเวลากลางคืน แสงสีฟ้าจากหน้าจอ สามารถทำลายระบบนี้
.
ทำให้ต่อมไพเนียล (pineal gland) สร้าง melatonin น้อยลง มีผลทำให้นอนไม่หลับหรือบางคนก็อาจจะนอนหลับไม่สนิทได้
.
นอกจากนั้น ทาง National Sleep Foundation ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกที่ทำงานเกี่ยวกับการนอนหลับ ได้แนะนำว่า ควรที่จะหยุดใช้เครื่องมือสื่อสารก่อนเข้านอนประมาณ 30 นาที รวมไปถึงควรที่จะวางมือถือของเราไว้อีกสถานที่หรืออีกห้องนึง เพื่อที่จะทำให้เราเลี่ยงการใช้งานมือถือก่อนเข้านอนนั่นเอง
.
3. Light May Damage Your Eyes (แสงสามารถทำลายเซลล์ตาของเราได้)
มีงานวิจัยที่ออกมาพูดเพิ่มเติม นอกจากแสงสีฟ้าาที่สามารถส่งผลกระทบต่อเซลล์ประสาทตาแล้ว ยังมีแสง ultraviolet A หรือเรียกสั้นๆ ว่า UVA ที่มาจากแดด ก็สามารถทำลายจอประสาทตา (retina) ของเราได้เช่นกัน
.
การดูดกลืนแสง UVA ที่มาก สามารถทำลายเยื่อบางๆ และอาจเร่งการพัฒนาการเกิดต้อกระจกและเกิดการเสื่อมสภาพของเม็ดสีได้
4. Decreased leptin (แสงสีฟ้าสามารถลดฮอร์โมนเลปติน)
แสงสีน้ำเงิน ทำให้ระดับฮอร์โมน Leptin ในร่างกายลด สำหรับฮอร์โมนตัวนี้จะเป็นตัวควบคุมความยากอาหาร เมื่อกระเพาะขยายตัว ฮอร์โมนเลปตินจะช่วยส่งสัญญาณความอิ่มไปยังสมองส่วนไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) ให้หยุดความอยากอาหารและกระตุ้นการเผาผลาญให้มากขึ้น
.
แต่เมื่อฮอร์โมนตัวนี้ลดลง จึงทำให้ร่างกายอยากอาหารตลอดเวลา นำไปสู่โรคอ้วนได้นั้นเอง หากน้ำหนักร่างกายมากก็เพิ่มความเสี่ยงเป็นไมเกรนเพิ่มขึ้นอีกนั่นเอง
.
ซึ่งนอกจากนั้น การที่เราจะลดโอกาสการเจอสิ่งกระตุ้นจากแสงสีฟ้า ควรที่จะทำตามนี้ร่วมด้วยนะชาวไมเกรน
- ใส่แว่นกรองแสงเพื่อตัดแสงสีฟ้าออก
- เมื่อใช้คอมพิวเตอร์หรือจอมือถือ แนะนำให้ใช้โหมดกลางคืน จะช่วยสนอมสายตาของเราได้ดีมากยิ่งขึ้น
- หลีกเลี่ยงการเล่นมือถือก่อนเข้านอนประมาณ 1-2 ชั่วโมง
- เปลี่ยนแสงไฟภายในบ้านของเรา ให้เป็นสีที่ถนอมสายตา อาจจะเป็นสี ‘Warm white’ หรือสีออกเหลืองนวล
- พยายามพักสายตาระหว่างการทำงาน ประมาณ 10-20 นาที โดยการงีบหรือมองออกไปบริเวณที่เป็นพื้นที่สีเขียว ซึ่งมีงานวิจัยออกมาเปิดเผยว่า แสงสีเขียวสามารถช่วยลดความไวของเซลล์จอประสาทตาของเราและลดปวดไมเกรนได้
- ใช้กฎ 20-20-20 นั่นก็คือ พักจากจอทุก 20 นาที มองออกไปประมาณ 20 ฟุต และพักอย่างน้อย 20 วินาที
แหล่งที่มา :
- https://www.theraspecs.com/blog/how-blue-light-impacts-eyes-brain/
- https://www.healthline.com/health/blue-light-headaches#other-side-effects