ครอบแก้ว ฝังเข็ม รักษาไมเกรน

ทีมสไมล์ไมเกรน ขอแชร์อีกสองแนวทางการรักษาไมเกรน ซึ่งถือว่าเป็นการรักษาแบบทางเลือก ทั้งในเรื่องของครอบแก้วและฝังเข็ม ที่ในปัจจุบัน นิยมนำมารักษาควบคู่กับการทานยาแก้ปวดและยาป้องกันไมเกรนอย่างต่อเนื่อง 

.

การรักษาแบบครอบแก้วและฝังเข็ม มีวิธีการทำและประโยชน์ยังไงกันบ้าง มาดูเลย!

.

เรามาเริ่มทำความเข้าใจกันก่อนว่า “ครอบแก้ว” มันคืออะไรกันนะ?!

การครอบแก้ว (Cupping therapy) คือ การนำถ้วยแก้วมาวางไว้บนผิวหนัง และมีการใช้ความร้อนให้แก้วดูดตัวกล้ามเนื้อและผิวหนังขึ้นมา ทำให้เส้นเลือดบริเวณนั้นเกิดการขยายตัว และทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีมากขึ้น จนเกิดผลการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บ

.

ซึ่งตามศาสตร์จีน ได้บอกไว้ว่า ความร้อนจากไฟจะช่วยขับไล่ความเย็นที่อยู่ในเส้นลมปราณ เพราะเขาเชื่อว่า ความเย็นจะทำให้การไหลเวียนเลือดในร่างกายเกิดการติดขัด และนำมาสู่อาการปวดนั่นเอง

การครอบแก้วสามารถรักษาได้หลายโรค ทั้งในเรื่องของระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบกระดูกข้อและระบบประสาท รวมไปถึงโรคปวดศีรษะไมเกรน

.

การครอบแก้ว มีประโยชน์อะไรบ้างล่ะ?

ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด

ช่วยบรรเทาอาการปวด ทำให้เกิดการผ่อนคลาย

ช่วยลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่น

.

ซึ่งการครอบแก้วจะนิยมทำเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ยิ่งทำต่อเนื่องจะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาที่มากขึ้น

.

มีงานวิจัยในต่างประเทศ ได้ทำการศึกษาการครอบแก้วกับการรักษาไมเกรน 

โดยนำการครอบแก้วแบบเปียก (Wet cupping therapy) ทั้งหมด 5 จุด ระยะเวลา 20 นาที มารักษาในชาวไมเกรน ทั้งในกลุ่มที่มีออร่า และไม่มีออร่า

.

ผลการศึกษาพบว่า ชาวไมเกรนจำนวน 85 คนที่เข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้ มีความถี่ของอาการปวดศีรษะลดลงอย่างชัดเจน ในช่วงครึ่งเดือนหลังหลังทำครอบแก้ว

.


ต่อไป อีกหนึ่งการรักษาทางเลือกยอดฮิตของชาวไมเกรน นั่นก็คือ การฝังเข็ม

.

การฝังเข็ม ไม่ได้มีเพียงการฝังเข็มแบบจีน ที่หลายๆ คนคุ้นหูกันเท่านั้น แต่การรักษาฝังเข็มมีการรักษาฝังเข็มแบบตะวันตกร่วมด้วย

.

ก่อนอื่นเราจะมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า 

“ฝังเข็มแบบตะวันตก” และ “ฝังเข็มแบบตะวันออก : ฝังเข็มจีน” คืออะไร?

.

> ฝังเข็มแบบตะวันตก นั่นก็คือ การฝังเข็มเฉพาะที่ บนกล้ามเนื้อที่มีจุดกดเจ็บ หรือที่เราเรียกว่า trigger point โดยคุณหมอจะใช้เข็ม ไปคลายปมกล้ามเนื้อตัวนั้น เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นเกิดการกระตุกและคลายตัวออกนั่นเอง

> ฝังเข็มแบบตะวันออก หรือที่เราคุ้นหูกันว่า ฝังเข็มแบบจีน จะเป็นการฝังเข็มตามแนวลมปราณ เพื่อให้เกิดการกระตุ้นไปยังอวัยวะที่ทำงานผิดปกติ เกิดการบำรุง ซ่อมแซมและทำให้สมดุลร่างกายของเราดีขึ้น

.

โดยการฝังเข็มแบบตะวันตก จะเน้นการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อเป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่น ภาวะพังผืดกล้ามเนื้ออักเสบ โรคออฟฟิศซินโดรม

.

ซึ่งจะแตกต่างกับการฝังเข็มแบบจีน ที่จะหวังผลในเรื่องของการลดอักเสบ และจะสามารถรักษาโรคได้หลายกลุ่ม เช่น กลุ่มโรคระบบประสาท อาการปวดจากตัวกล้ามเนื้อ โรคระบบทางเดินอาหาร และโรคที่เกี่ยวกับฮอร์โมนต่างๆ

.

วันนี้เราจะมาเน้นทำความรู้จักกันในเรื่องของ “ฝังเข็มแบบตะวันตก” ที่นิยมใช้รักษาในโรคปวดศีรษะไมเกรนโดยตรง และจะสัมพันธ์กับชาวไมเกรน ที่มีโรคพังผืดกล้ามเนื้ออักเสบ (myofascial pain syndrome) ร่วมด้วย

เราจะมาทำความรู้จักกับ โรคพังผืดกล้ามเนื้ออักเสบเพิ่มเติมกันเล็กน้อย

โรคนี้ถือว่า เป็นโรคร่วมที่พบในชาวไมเกรนมากเป็นอันดับต้นๆ

.

โดยที่โรคนี้ จะสามารถทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง มักจะมากับสิ่งที่เรียกว่า “จุดกดเจ็บ (trigger point)” มีนักวิจัย Calandre และคณะ ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับตัว Trigger point คนไข้ไมเกรน พบว่าจำนวนของจุดกดเจ็บ จะสัมพันธ์กับความถี่และความรุนแรงของอาการปวดศีรษะไมเกรนนั่นเอง 

.

ในชาวไมเกรน จุดที่มักส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน ได้แก่ บ่าทั้งสองข้าง เพราะกล้ามเนื้อบ่ามันจะมีการเกร็งตัวเวลาที่เรานั่งทำงานในท่าซ้ำๆ เดิมๆ

.

จากงานวิจัย ได้บอกไว้ว่า การฝังเข็ม สามารถช่วยลดอาการปวดไมเกรนได้จริง แต่ขึ้นอยู่กับการตอบสนองในแต่ละบุคคล

.

ต้องฝังบ่อยไหม?

แนะนำว่า ฝัง อย่างน้อย 6 session ขั้นต่ำ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ก็อาจจะ work อย่างน้อยเทียบเท่ายากิน

.

ผลข้างเคียงหลังจากฝังเข็ม พบอะไรได้บ้างล่ะ?

✅ บางรายมีอาการปวด ระบม หลังจากฝังเข็มประมาณ 1-4 วัน

✅ บางรายอาจะมีอาการหน้ามืด วิงเวียน เป็นลมได้

.

นอกจากนั้น เมื่อเราฝังเข็มเรียบร้อยแล้ว โอกาสการกลับมาเป็นซ้ำยังสามารถเกิดได้อย่างแน่นอน การปรับพฤติกรรม ท่าทางการนั่ง จึงเข้ามามีบทบาทร่วมด้วยนะ


แหล่งอ้างอิง :

https://www.rama.mahidol.ac.th/altern_med/th/cupping_km

https://hdmall.co.th/c/what-difference-dry-needling-vs-acupuncture

กลับไปยังบล็อก

แสดงความคิดเห็น

โปรดทราบว่าความคิดเห็นจะต้องได้รับการอนุมัติก่อนที่จะได้รับการเผยแพร่