อันตรายจากยาแก้ปวด

ยาแก้ปวด เป็นยาที่หลายๆ คนและหลายๆ บ้าน ต้องมีอย่างแน่นอน เพราะมันเป็นสามัญประจำบ้าน กินปุ้บหายปวดปั้บ

.

แต่การใช้ยาแก้ปวด ไม่ใช่ว่าเราจะกินไปเรื่อย พร่ำเพรื่อตามใจ เพราะบางครั้ง มันอาจะเกิดผลกระทบต่อชีวิตเราได้เช่นกัน

.

ยาแก้ปวดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 

  1. ยาแก้ปวดทั่วไป ได้แก่ ยา acetaminophen, ยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ได้แก่ แอสไพริน (aspirin), ไอบูโพรเฟน (ibuprofen), นาพรอกเซน (naproxen), ไดโคฟีแนคโพแทสเซียม (diclofenac potassium) และ ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ (opioids)

  1. ยาแก้ปวดจำเพาะไมเกรน ได้แก่ ยาเออร์โกตามีน (ergotamine) และยากลุ่มทริปแทน (triptan) ซึ่งในประเทศไทยมี 2 ชนิด ได้แก่ ซูมาทริปแทน (sumatriptan) และ อีลิทริปแทน (eletriptan) เป็นชนิดรับประทาน

.

  1. ยาแก้ปวดกลุ่มอื่นๆ ได้แก่ ยากลุ่มสเตียรอยด์ (steroid) ตัวอย่างยาเช่น เพรดนิโซโลน (prednisolone)

.

การเลือกใช้ยาแก้ปวด ใครบ้างที่ควรระวังเป็นพิเศษ ?!

✅ หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

✅ มีประวัติการแพ้ยา

✅ มีโรคประจำตัว : โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ

✅ มีประวัติความดันโลหิตสูง

✅ มีประวัติเป็นแผลในกระเพาะอาหาร

✅ อายุต่ำกว่า 16 ปี หรือมากกว่า 65 ปี

.

จุดประสงค์ของการใช้ยาแก้ปวด นั่นก็คือ เราอยากให้อาการปวดศีรษะหายไป ทุเลาอาการที่เกิดขึ้นได้มากที่สุด และกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

.

แต่ชาวไมเกรนหลายๆ คน คงจะเคยได้ยินกันมาว่า การใช้ยาแก้ปวดบ่อยๆ ถี่ๆ 

หรือใช้ต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน สามารถทำให้เกิดผลเสีย ผลข้างเคียงต่อร่างกายได้

.

ความถี่ในที่นี้ หมายความว่า ผู้ป่วยคนนั้น เริ่มทานยาแก้ปวดด้วยความถี่

ที่มากกว่า 2 วันต่อสัปดาห์ หรือประมาณ 10 วันต่อเดือน

.

กินยาแก้ปวดบ่อย เสี่ยงเกิดอะไรกับร่างกายของเราบ้าง?

✅ เสี่ยงเกิดภาวะติดยาแก้ปวด (Medication overuse headache: MOH) ทำให้มีอาการปวดหัวซ้ำๆ ในทุกๆ วัน และไม่ค่อยตอบสนองต่อการทานยาแก้ปวด

✅ ในคนที่ทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs หรือยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ตัวยาเช่น Naproxen (นาพรอกเซน), Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) อาจเกิดกระเพาะอาหารเป็นแผล

✅ โรคกรดไหลย้อน

✅ ความดันโลหิตสูงขึ้น อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โดยเฉพาะในยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs สามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ถึง 32% เนื่องมาจากตัวยาสามารถทำให้เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย

✅ ค่าไตสูง ไตทำงานหนัก ไตวาย เพราะตัวยาแก้ปวด อาจทำให้เกิด ภาวะบวมน้ำ โพแทสเซียมในเลือดสูงได้

✅ มีผลทางด้านอารมณ์ เช่น อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า วิตกกังวล

.

และกรณีที่ผู้ป่วยคนนั้น ทานยาแก้ปวดในกลุ่มจำเพาะกับไมเกรนบ่อย ที่ชื่อ เออร์โกตามีน (ergotamine) ตัวยาเช่น Tofago, Cafergot, Avamigran, Migana 

.

ซึ่งตัวยา มีหน้าที่ทำให้หลอดเลือดที่ขยายตัวผิดปกติเกิดการหดตัวลงและทำให้อาการปวดศีรษะหายไปในที่สุด

.

ผู้ป่วยที่ใช้ยาแก้ปวดในกลุ่มนี้บ่อย พึงระมัดระวังอีกหนึ่งภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ เราเรียกว่า ภาวะ ergotism

.

ภาวะ ergotism คือภาวะที่จะทำให้การไหลเวียนเลือดส่วนปลายของเราลดลง

เนื่องจากตัวยาจะทำให้หลอดเลือดเกิดการหดตัวค้างไว้

.

ซึ่งสาเหตุดังกล่าว จะนำไปสู่อาการชาที่ปลายมือ ปลายเท้า และอาจมีภาวะเนื้อตายตามมาในที่สุด อุบัติการณ์นี้ เกิดได้ประมาณ 0.001-0.002% ถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างต่ำ แต่สามารถเกิดได้

.

เพราะฉะนั้น การพิจารณาใช้ยาแก้ปวด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มยาแก้ปวดทั่วไป กลุ่มยาแก้ปวดจำเพาะกับไมเกรน และยาแก้ปวดกลุ่มอื่นๆ ควรที่จะได้รับการแนะนำจากแพทย์ก่อนใช้ตัวยาทุกครั้ง

และตัวผู้ป่วยเองควรจะทราบ ผลข้างเคียงของตัวยาทั้งระยะสั้นและระยะยาว รวมไปถึงปริมาณการใช้ยาที่เหมาะสมในแต่ละครั้ง เพื่อที่จะลดโอกาสการเกิดผลเสียต่อร่างกาย และทำให้เกิดประสิทธิภาพการรักษาสูงที่สุด


แหล่งที่มา :

https://www.versusarthritis.org/about-arthritis/treatments/drugs/painkillers-and-nsaids/

กลับไปยังบล็อก

แสดงความคิดเห็น

โปรดทราบว่าความคิดเห็นจะต้องได้รับการอนุมัติก่อนที่จะได้รับการเผยแพร่