ใครที่ไหน บอกว่ายี่ห้อไหนดี ยี่ห้อไหนที่ว่าแรง ชาวไมเกรนอย่างเราก็อยากจะลอง หรือหาซื้อกันมาติดไว้อย่างแน่นอน เพราะยาแก้ปวดเป็นตัวช่วยลดอาการปวดได้อย่างฉับพลัน และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้จริงๆ
.
วันนี้สไมล์ ไมเกรน จะมาเล่าถึงตัวยา Tramadol ยาแก้ปวดที่เป็นกลุ่มโอปิออยด์ (Opioids) ซึ่งจะมีอนุพันธ์มาจากฝิ่น ชาวไมเกรนหลายๆ คน มักจะคุ้นหูคุ้นตากับยาแคปซูลสีเขียวเหลืองกันมาบ้าง เพราะเราสามารถหาซื้อยาตัวนี้ได้จากร้านขายยา
.
แต่ถือว่าเป็นตัวยาที่ค่อนข้างอันตราย และมักจะมีคนนำมาใช้ผิดวัตถุประสงค์อยู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่น นำตัวยามาผสมกับเครื่องดื่มขนิดต่างๆ เข่น น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
.
ซึ่งผลของการใช้ในลักษณะดังกล่าว จะทำให้ผู้ใช้รู้สึกเคลิบเคลิ้ม จนทำให้ทีความต้องการอยากใช้ทุกวันได้ เมื่อไม่ได้ใช้อาจจะทำให้เกิดภาวะถอนยา บางรายอาจเจอผลข้างเคียงในการใช้ จนถึงแก่ชีวิตก็มีเช่นกัน
.
เอ้ ! แล้วกลุ่มยาแก้ปวดนี้มันเป็นยังไง เดี๋ยวทางสไมล์ ไมเกรน จะเล่าให้ฟัง
.
สำหรับตัว Tramadol นี้เป็นกลุ่มยาแก้ปวดใช้บรรเทาอาการปวดได้เช่นเดียวกับมอร์ฟีน
บรรเทาอาการปวดระดับปานกลางจนถึงระดับรุนแรง
แต่ตัวนี้ไม่จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษ เนื่องจากยาชนิดนี้ยังระงับอาการปวดได้น้อยกว่ามอร์ฟีน 5-20 เท่า
.
สำหรับการออกฤทธิ์ของ Tramadol นั้น จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดและเป็นเปลี่ยนเป็น Active form ที่บริเวณตับ ตัวยาจะทำหน้าที่เหมือนสารเอ็นโดรฟิน (Endorphin) ในสมอง โดยการยับยั้งตัวรับสาร (Receptors) เกี่ยวกับความรู้สึกเจ็บปวดที่ถูกส่งมายังเซลล์ของระบบประสาทส่วนกลาง
.
ทำให้ชาวไมเกรนที่ทานตัวยาแก้ปวด Tramadol เข้าไปจะรู้สึกปวดน้อยลง เมื่อร่างกายใช้ประโยชน์จากตัวยาหมดแล้วก็จะขับออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะของเรานั่นเอง
.
โดยตัวยาแก้ปวด Tramadol นี้จะออกฤทธิ์หลังจากทานเข้าไปประมาณ 1 ชั่วโมง และควบคุมอาการปวดได้ประมาณ 6-9 ชั่วโมง
.
ผลข้างเคียงของยาแก้ปวดตัวนี้ ไม่กัดกระเพาะเหมือนกับยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs หรือที่เรารู้จักกันนั่นก็คือ ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ แต่ตัวยาแก้ปวด Tramadol สามารถพบผลข้างเคียงในเรื่องคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หน้ามืดได้ในบางราย
.
ซึ่งยาตัวนี้ ขนาดยาที่ใช้ ไม่ควรเกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน และเมื่อทานยาไปแล้วอาการปวดไม่ทุเลาลง สามารถทานซ้ำอีกครั้งเมื่อเวลาผ่านไป 4-6 ชั่วโมง
.
พออ่านมาถึงตรงนี้ เหมือนจะดีเลย ระงับปวดไมเกรนหนักๆ ได้ แล้วทำไมต้องระวังติดด้วยนะ?!
นั่นก็เพราะเจ้าตัวยา Tramadol หรือยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ (Opioids) นี้ เป็นที่รู้จักกันชื่อของอนุพันธ์ของฝิ่น และด้วยของฤทธิ์ของสารกลุ่มนี้จะเข้าไปกดประสาททำให้ผู้ใช้รู้สึก เคลิบเคลิ้ม บรรเทาอาการเจ็บปวด
.
และเมื่อมีประวัติการใช้ยาติดต่อกันมากกว่า 10 วันต่อเดือน และต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือน จะทำให้มีความต้องการปริมาณยาที่เพิ่มขึ้น จนเกิดอาการติดยาแก้ปวดได้ เราเรียกภาวะนี้ว่า Medication overuse headache (MOH)
.
วันนี้ทีมสไมล์ ไมเกรน จะมีวิธีสังเกตอาการของตัวเองง่ายๆ ว่าเรามีภาวะติดยาแก้ปวดร่วมด้วยหรือไม่?
> ตื่นมาตอนเช้าก็ปวด
> ปวดหัวบ่อยขึ้น
> มีแนวโน้มไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวด
> อาการปวดจะดีขึ้นเมื่อทานยา แต่พอยาหมดฤทธิ์ อาการปวดก็จะกลับมาเหมือนเดิม
> ปวดแม้จะไม่มีสิ่งกระตุ้น
> มีประวัติใช้ :
ยาแก้ปวดในกลุ่มจำเพาะไมเกรน มากกว่า 10 วันต่อเดือน ติดต่อกันเกิน 3 เดือน
หรือ
ยาแก้ปวดที่ไม่จำเพาะกับไมเกรน มากกว่า 15 วันต่อเดือน ติดต่อกันเกิน 3 เดือน
.
หากชาวไมเกรนคนไหนเริ่มมีภาวะติดยาแก้ปวดกลุ่มนี้แล้ว และต้องการถอนยา การหักดิบเลย อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีเลย การถอนยาควรที่จะทำภายใต้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เนื่องจากในวันแรกๆของการถอนยา ระดับอาการปวดศีรษะ อาจจะค่อนข้างสูงได้
.
เราจะมาดูกันว่าขั้นตอนการถอนยาแก้ปวด มีกระบวนการยังไงบ้างนะ?
- หยุดทานยาแก้ปวดตัวที่ติด เป็นระยะเวลาประมาณ 7-10 วัน
- แพทย์จ่ายยายาแก้ปวดสเตียรอยด์ระยะสั้น เพื่อระงับกระบวนการปวด เป็นระยะเวลา 7 วัน
- ทานยาป้องกันไมเกรนในกลุ่มมาตรฐานควบคู่ เพื่อลดความไวของสมอง และลดความไวต่อสิ่งกระตุ้น ต่อเนื่อง 4-6 เดือน
.
และแพทย์บางรายอาจจะมีการพิจารณาในเรื่องของจ่ายยาแก้ปวดสเตียรอยด์ระยะสั้นร่วมด้วย เพื่อระงับกระบวนการปวด
.
แอดมินแนะนำปรึกษาคุณหมอเฉพาะทางระบบประสาทและสมองเพื่อความปลอดภัย หรือสามารถทำนัดปรึกษาแพทย์ออนไลน์มาที่แอปพลิเคชันสไมล์ไมเกรนก็ได้เช่นกันนะชาวไมเกรน
.
มีเรา แอปพลิเคชัน “ Smile Migraine” เป็นตัวช่วยได้แล้ววันนี้
ทั้งระบบ iOS และ Android >> http://onelink.to/3xys9f
แหล่งที่มา :