เราเชื่อเหลือเกินว่า กว่าครึ่งหนึ่งของชาวไมเกรนนี้ ต้องเคยมีประสบการณ์
🔻 ปวดหัวไมเกรน
🔻 แล้วกินยาแก้ปวดไมเกรน
🔻 พอหมดฤทธิ์ยา มันก็เริ่มปวดอีก
🔻 แล้วกินยาแก้ปวดไมเกรน
🔻 พอหมดฤทธิ์ยา แล้วมันก็ปวดอีก
วนแบบนี้เป็นวงกลม ช่วงแรกๆ เดือนหนึ่งก็อาจจะเป็น 1-2 ครั้ง
แต่พอนานเข้าๆ มันกลับกลายเป็นถี่ขึ้น ถี่ขึ้น จนเป็นความเคยชิน กินแม่มมันทุกวันเลย
บางทีไม่กินยาไมเกรนก็เริ่มกังวลใจแล้ว กลัวมันจะปวดขึ้นมาอีก ชีวิตจะยากหล่ะ
.
นี่คือสัญญาณเตือนว่า “คุณกำลังติดยาแก้ปวดไมเกรน” นะจ๊ะ
.
เอ้า ทำไมถึงปวดหล่ะ ในเมื่อยาแก้ปวดไม่ใช่สารเสพติดสักหน่อย จุดเริ่มต้นมันเป็นแบบนี้เดี๋ยว สไมล์ ไมกรน จะเล่าให้ฟัง
.
ก่อนอื่นเลย เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ยาแก้ปวด ใช้อย่างไรกันบ้าง
- ใช้เมื่อมีอาการปวดศีรษะเท่านั้น
- รู้ข้อห้ามและข้อควรระวังของตัวยาแต่ละตัว
- ควรรู้เรื่องผลข้างเคียงของตัวยาที่ทาน เช่น ระคายเคืองกระเพาะอาหาร อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หรือแม้กระทั่งอัตราการเต้นของหัวใจเปลี่ยนแปลง
- ไม่แนะนำให้ทานตัวยาแก้ปวดบ่อยเกิน 10 วันต่อเดือน หรือ 15 วันต่อเดือนในบางกลุ่ม ติดต่อกัน 3 เดือน เพราะจะทำให้เสี่ยงติดยาแก้ปวดได้
.
สำหรับยาแก้ปวดไมเกรนตัวที่ติดเนี้ยส่วนใหญ่เลยนะ จะมีส่วนผสมของเจ้าตัวที่ชื่อว่า “Ergotamine” ชาวไมเกรนลองกลับไป ดูส่วนประกอบของยาที่เราทานทุกวันๆ นี้ ในส่วนประกอบของยามีชื่อเจ้านี้อยู่หรือเปล่า ถ้าใช่ ให้ระมัดระวังในการทานให้ดีนะ
.
เพราะเจ้า Ergotamine นี้แหละที่ถูกใช้เป็นยาแก้ปวดกับผู้ป่วยไมเกรนมาตั้งแต่ปี 1862 ปกติน้องเป็นเชื้อราที่พบได้ในข้าวไรย์ (Rye)
.
แต่ด้วยความที่เชื้อราตัวนี้ น้องมีฤทธิ์ในการช่วยให้หลอดเลือดหดตัว ซึ่งปกติเวลาปวดไมเกรนหลอดเลือดบนสมองของเราจะเกิดการอักเสบและขยายตัว ทำให้เกิดอาการปวดได้ ทีนี้น้องเข้าไปช่วยหลอดเลือดหดตัวได้ จึงเป็นที่มาว่าทำไมน้องช่วยลดปวดได้นั้นเอง
.
แต่ !!! ด้วยความที่น้องทำให้หลอดเลือดหดตัวนี้ มันไม่ได้หดแค่ตรงสมองที่ปวดอ่ะสิ น้องทำให้หลอดเลือดทั้งตัวหดจ้า ทั้งหลอดเลือดที่แขน ขา หลอดเลือดหัวใจ จึงทำให้คนไข้ไมเกรนที่ทานยาตัวนี้บ่อยๆ และเริ่มถี่ขึ้น จะมาพร้อมผลข้างเคียงอย่างชาปลายมือ ปลายเท้า มีการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตสูง
.
นอกจากนี้ ที่สำคัญเลยคือ น้องจะเข้าไปรบกวนการทำงานของสารสื่อประสาทในสมองที่เป็นกระบวนการรับรู้ความเจ็บปวด เกิดเป็นวงจรของอาการปวดหัวอย่างต่อเนื่องที่เกิดจากการใช้ยารักษาอาการปวดหัว ทางภาษาแพทย์เรียกว่า Medication Overuse Headache
.
ทั้งนี้ หากคนไข้เริ่มสังเกตว่า ตอนนี้ทานยาแก้ปวดไมเกรนบ่อยขึ้น ทานจนเกือบทุกวัน ทานแบบนี้ติดต่อกันมากกว่า 3 เดือนแล้ว และเริ่มมีอาการชาปลายมือปลายเท้า บางทีทานแค่หนึ่งเม็ดก็ไม่หาย ต้องทานโดสเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั้นแสดงว่า คุณเริ่มมีอาการ “ติดยา” แก้ปวดเข้าแล้วหล่ะ
.
ซึ่งก็ไม่เป็นไรเลยนะ อย่าเพิ่งตีโพยตีพายว่า โอ้ย ! แล้วฉันจะทำอย่างไรหล่ะ ก็มันติดไปแล้ว ทุกปัญหามีทางออกเสมอ
.
ปกติการรักษาคนไข้ไมกรนที่มีภาวะร่วม คือติดยาแก้ปวด คุณหมอจะให้เรางดตัวยาแก้ปวดที่ติดอยู่ก่อน 5-7 วัน และทานยาแก้ปวดตัวอื่นแทน โดยเราเรียกกระบวนการนี้ว่า “กระบวนการถอนยา” แต่ทั้งนี้ แนะนำว่าต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางเท่านั้นนะ เนื่องจาก condition ของร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน วิธีนี้อาจจะเวิคกับคนหนึ่ง แต่ก็อาจจะไม่เวิคกับอีกคนหนึ่งก็ได้
.
ทางที่ดีปรึกษาแพทย์ก่อนเข้าสู่กระบวนการถอนยาจะดีกว่า โดยปรึกษาได้ที่ Smile Migraine Application Link : http://onelink.to/3xys9f และกดจองคิวคุณหมอไมเกรนของเรา ซึ่งสามารถเลือกได้เลยนะ เพราะทุกท่านเป็นอาจารย์แพทย์ที่เชี่ยวชาญในการรักษาคนไข้ไมเกรนมากกว่า 1,000 เคสเลยหล่ะ
โดยตอนนี้จะมีวันออกตรวจตั้งแต่
- วันจันทร์ อ.นพ.นพดนัย (เวลา 15.00 - 16.00)
- วันพุธ ผศ.นพ.สุรัตน์ (เวลา 15.00 - 16.15)
- วันพฤหัส นพ.ประกาศิต (เวลา 17.00 -18.00)
- วันศุกร์ ผศ.นพ.สุรัตน์ (เวลา 16.00 - 17.15)