เป็นไมเกรนเมื่อท้อง ทำอย่างไร?

คุณแม่ตั้งครรภ์กับไมเกรน

ผู้หญิงหลายๆ คน คงจะเป็นกังวลว่า ถ้าเรามีโรคประจำตัวเป็นโรคปวดศีรษะไมเกรน 

แล้วเมื่อเราตั้งครรภ์ ยาแก้ปวด ยาป้องกันไมเกรนตัวไหนจะสามารถกินได้บ้างนะ?

.

ก่อนอื่น ต้องบอกก่อนว่า มีงานวิจัยในต่างประเทศ ได้บอกไว้ว่า ประมาณ 50-80% ของคุณแม่ตั้งครรภ์ มักจะมีอาการความถี่และความรุนของของอาการปวดศีรษะไมเกรนลดลง โดยเฉพาะในสาวชาวไมเกรน ที่มักจะมีกระตุ้นเป็นเรื่องของรอบเดือน

.

ผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ท่าน เชื่อว่าเกิดมาจากที่ระดับเอสโตรเจนมีระดับที่คงที่ เลยลดการกระตุ้นไมเกรนได้นั่นเอง

.

แต่ในผู้หญิงชาวไมเกรนบางคน อาจจะสามารถมีอาการปวดศีรษะไมเกรนที่ถี่ขึ้นมากกว่าปกติได้ อาจจะเนื่องมาจาก การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ความเครียด วิตกกังวล ภาวะขาดน้ำ และระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ อาการจะเริ่มดีขึ้นเมื่อเข้าไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนเริ่มคงที่ และร่างกายเกิดการปรับตัวแล้ว

.

และความถี่ของอาการปวดศีรษะไมเกรน อาจจะกลับมาถี่มากขึ้นได้ในช่วงหลังคลอด เนื่องจากคุณแม่จะต้องใช้เวลาดูแลลูกมากขึ้น พักผ่อนน้อยลง และอาจจะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย

.

ต่อมา เราจะมาดูกันว่าเรื่องอะไรบ้าง ที่ผู้หญิงกำลังวางแผนตั้งครรภ์หรือกำลังตั้งครรภ์ควรให้ความสนใจ

✅ ต้องเปลี่ยนวิธีการทานยาแก้ปวด หรือตัวยาแก้ปวด เพราะยาบางตัวจัดเป็นข้อห้ามทานในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาการจ่ายยาแก้ปวดตามกลุ่มความเสี่ยงการใช้ยา

  1. Category B : No evidence of risk in human (ไม่มีหลักฐานที่บอกว่ามีหลักฐานความเสี่ยงในมนุษย์ : คนท้องใช้ได้)
  2. Category C : Risk can not be rule out (ความเสี่ยงอาจจะมี/ไม่มีก็ได้ ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรใช้)

✅ ยาป้องกันไมเกรนต้องเปลี่ยน กรณีที่ยาตัวนั้นมีผลต่อเด็กในครรภ์

.

เราจะมาเริ่มที่ตัวยาแก้ปวด ที่ชาวไมเกรนมักจะต้องพกติดตัวไว้ตลอดเวลา

คุณแม่ตั้งครรภ์อย่างเราๆ มีปวดศีรษะไมเกรนขึ้นมา จะทานยาแก้ปวดตัวไหนได้บ้าง? 

  1. ตัวยาแก้ปวดที่สามารถทานได้ “ทุกไตรมาส” ของการตั้งครรภ์เลย นั่นก็คือ ยาแก้ปวดพาราเซตามอล (Paracetamol)
  2. ยาในกลุ่ม NSAIDs (non-steroidal antiinflammatory drugs) จะทานได้ในช่วง 2 ไตรมาสแรกเท่านั้น ซึ่งตัวยาที่สามารถทานได้อย่างปลอดภัยและมีงานวิจัยรองรับ นั่นก็คือ Naproxen นั่นเอง ยากลุ่มควรที่จะทานหลังมื้ออาหารเท่านั้น เนื่องจากสามารถกัดกระเพาะได้

.

แล้วถ้าปวดมากๆ จน ยาแก้ปวดในกลุ่มพาราเซตามอลและกลุ่ม NSAIDs เอาไม่อยู่ล่ะ?!

จะสามารถทานกลุ่มจำเพาะไมเกรนได้หรือไม่?

  1. กลุ่ม Ergotamine เช่น Cafergot, Tofago จะเป็นกลุ่มที่ห้ามใช้กับทุกไตรมาส เพราะสามารถทำให้เกิดมดลูกหดตัวและอาจจะเสี่ยงแท้งได้
  2. กลุ่ม Triptan ตัวยาเช่น eletriptan, sumatriptan มีรายงานพบความผิดปกติของตัวอ่อนในหนู แต่ยังไม่มีรายงานหรือการศึกษาในมนุษย์

เพราะอย่างนั้นแล้ว จะเลือกทานในกลุ่มนี้ควรที่จะเลือกทานเมื่ออาการปวดค่อนข้างรุนแรงและกลุ่มด้านบนเอาไม่อยู่เท่านั้น

.

ส่วนคุณแม่คนไหนที่ต้องทานยาป้องกันไมเกรนอย่างต่อเนื่อง ต้องเข้าปรึกษากับคุณหมอเพื่อวางแผนการทานยาร่วมกัน ป้องกันความเสี่ยงต่อทารก 

.

มียาตัวหนึ่งที่มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงต่อทารกค่อนข้างมาก จะเป็นตัวยาป้องกันไมเกรนที่ชื่อ Valproic acid ซึ่งเป็นตัวยาป้องกันไมเกรนในกลุ่มกันชัก

.

ยาป้องกันไมเกรนตัวนี้ มีงานวิจัย ในผู้ป่วย 29 คน ได้รับยาขนาด 800 มิลลิกรัมต่อวัน พบว่าร้อยละ 86.2 ของผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะลดลงมากกว่าร้อยละ 50 เลยทีเดียว

.

กลไกการทำงานของตัวยาป้องกัน Valproic acid จะทำหน้าที่ไปเพิ่มระดับ GABA ซึ่งเป็นตัวที่มีหน้าที่ยังยั้งสารสื่ออักเสบในสมองได้นั่นเอง เพราะเมื่อสารสื่ออักเสบเกิดขึ้น จะทำให้เกิดอาการปวดหัวตุ๊บๆ ได้

.

ซึ่งถ้าสาวๆ ชาวไมเกรนคนไหน ที่กำลังทานตัว Valproic acid แต่กำลังจะวางแผนมีน้อง หรือวางแผนตั้งครรภ์ ต้องปรึกษากับคุณหมอประจำตัว เพื่อพิจารณาหยุดยาตัวนี้ 100%

.

เพราะยาตัวนี้ สามารถส่งผลในเรื่องของไขสันหลังของเด็กและอาจเสี่ยงต่อการเป็นอัมพาตได้ โดยระยะเวลาที่เหมาะสมในการพิจารณาวางแผนปรับเปลี่ยนตัวยาหรือหยุดยา นั่นก็คือช่วง 3-6 เดือนนั่นเอง

.

โดยคุณหมอบางท่าน จะหันมาพิจารณาจ่ายตัวยาป้องกันตัวอื่นแทน

ซึ่งตัวป้องกันไมเกรนที่มีความปลอดภัยสูง ได้แก่ 

  1. Propranolol เป็นตัวยาป้องกันไมเกรนในกลุ่มลดความดัน ยาป้องกันตัวนี้ ในบางรายสามารถพบผลข้างเคียงในเรื่องของหน้ามืด อ่อนเพลียได้บ้าง
  2. Magnesium และ Vitamin B2 ซึ่งจะเป็นตัววิตามินป้องกันไมเกรน

.

หรือคุณแม่คนไหนที่ความถี่ไม่ค่อยมาก ก็จะมีการพิจารณาหยุดยาป้องกันในช่วงตั้งครรภ์ร่วมด้วย

.

การวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับคุณแม่ที่เตรียมตัวตั้งครรภ์มากๆ เพราะจะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดความพิการในลูกน้อยของเราหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นได้


แหล่งอ้างอิง :

https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%99

https://americanmigrainefoundation.org/resource-library/migraine-pregnancy/

กลับไปยังบล็อก

แสดงความคิดเห็น

โปรดทราบว่าความคิดเห็นจะต้องได้รับการอนุมัติก่อนที่จะได้รับการเผยแพร่