นอนไม่ดี เสี่ยงปวดหัว?!
ชาวไมเกรนหลายคนคงจะเอาใจเจ้าไมเกรนกันไม่ถูกเลยทีเดียว
นอนมากไปก็กระตุ้น นอนน้อยไปก็กระตุ้นไมเกรน
.
มีงานวิจัยได้ออกมาพูดว่า การนอนสามารถเป็นทั้งตัวกระตุ้นและตัวลดอาการปวดศีรษะได้ทั้งคู่
ทีมสไมล์ ไมเกรน จะพาชาวไมเกรนมาดูกันว่า โรคนอนไม่หลับที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะได้เพิ่มมากขึ้น มีอะไรกันบ้าง?
.
1. โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)
ปัญหาการนอนหลับนี้ มีผลกระทบต่อโรคปวดศีรษะไมเกรน เป็นอันดับต้นๆ
โดยมีงานวิจัยได้บอกว่า มากกว่า 2 ใน 3 ของชาวไมเกรน มักมีโรคนอนไม่หลับเป็นโรคร่วม
.
โดยปกติแล้ว วงจรการนอน จะมี 2 ช่วง ได้แก่
- ช่วงหลับธรรมดา (Non-Rapid Eye Movement Sleep: Non-REM Sleep)
- ช่วงหลับฝัน (Rapid Eye Movement Sleep: REM Sleep)
ซึ่งในช่วง REM sleep จะส่งผลต่อการเรียนรู้ ความจำ อารมณ์ร่วมด้วย
มีงานวิจัยในต่างประเทศได้บอกไว้ว่า การที่คนเราขาดการนอนในช่วง REM จะทำให้ร่างกายเกิดการสร้างโปรตีนเพิ่มมากขึ้น และสามารถเป็นตัวกระตุ้นไมเกรนได้
.
ซึ่งจะกินเวลาประมาณ 90 นาที ต่อ 1 รอบ วงจรการนอนที่ดีต้องประกอบไปด้วยประมาณ 3-6 รอบ
.
มีนักวิจัยจาก Missouri State University ได้ทำการวิจัยเรื่องการนอนหลับในหนู พบว่า ถ้าวงจรการนอนไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้การเพิ่มระดับของโปรตีนที่สามารถทำให้เกิดอาการปวดศีรษะและอาการปวดศีรษะเรื้อรังตามมาได้
.
2. ภาวะนอนกรน (Snoring)
ภาวะนอนกรน เกิดจาก 3 สาเหตุหลักๆ
- ระบบทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบ
เมื่อเรานอนหลับ กล้ามเนื้อต่างๆในช่องปากของเราจะผ่อยคลายและปิดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้เกิดเป็นเสียงกรนขึ้น
- ภาวะอ้วน
เนื่องมาจากในคนอ้วนจะมีโครงสร้างคางที่สั้น ทำให้ทางเดินหายใจส่วนต้นบริเวณโคนลิ้นและเพดานปาก หย่อนลง จึงตกลงไปปิดทางเดินหายใจได้
- ท่านอนหงายราบ
ทำให้ผลจากแรงโน้มถ่วง ส่งผลให้ทางเดินหายใจเกิดการตีบแคบ
.
ภาวะนอนกรน สามารถทำให้สมองของเราได้รับ oxygen ที่ไม่เพียงพอและสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้
.
ซึ่งภาวะนอนกรน มักจะสัมพันธ์กับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea : OSA) เกิดจากการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้น อันเนื่องมาจากกล้ามเนื้อในช่องคอ ลิ้น
.
ทำให้อากาศไม่สามารถลอดผ่านได้สะดวก ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลงได้เช่นกัน
.
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มักพบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
- ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด OSA ได้มากขึ้น ได้แก่
- อายุ
- น้ำหนักเกิน
- สรีระของคอและโครงสร้างใบหน้า
- มีประวัติโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
- การสูบบุหรี่
- ดื่มแอลกอฮอล์
- การทานยานอนหลับ
.
3. นอนกัดฟัน (Bruxism)
ภาวะเครียดหรือความกังวลที่เกิดการสะสมในแต่ละวัน สามารถทำให้เกิดอาการนอนกัดฟัน ในช่วงที่นอนหลับได้ ตื่นมาชาวไมเกรนอาจจะเกิดอาการปวดบริเวณขากรรไกรและขมับร่วมด้วยได้
.
4. โรคขาอยู่ไม่สุข ยุกยิกกลางคืน (Restless Leg Syndrome)
เป็นกลุ่มอาการที่สามารถพบได้ในทุกช่วงวัย ในบางรายจะรู้สึกว่ามีอะไรไต่ขาเมื่อนอนหลับ หรือในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจเตะหรือสะบัดขาอย่างแรงระหว่างที่นอนหลับอยู่
.
ซึ่งอาจส่งผลให้การนอนหลับไม่ต่อเนื่อง และรู้สึกอ่อนเพลียในวันรุ่งขึ้น
และจากการสำรวจโดย American Headache Society พบว่า โรคขาอยู่ไม่สุข ยุกยิกกลางคืน พบได้ถึง 40% ในชาวไมเกรนเชียวนะ
.
จากกลุ่มอาการทางด้านบน สามารถทำให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนหลังตื่นนอนได้ เราเรียกอาการปวดศีรษะนี้ว่า “Early morning headache”
.
อาการนี้พบในชาวไมเกรนได้มากถึง 1 ใน 3
และมักจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยช่วงอายุที่มากที่สุดจะอยู่ที่ 45-64 ปี
.
ชาวไมเกรนที่รู้ตัวว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับร่วมด้วย ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้หรือละเลย
ควรที่จะปรึกษากับแพทย์เฉพาะทาง และพิจารณาตรวจประเมินการนอนหลับ (Sleep test)
.
เพราะการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพ สามารถส่งผลต่อสภาพจิตใจและภาวะทางอารมณ์ได้
.
นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย พบว่า กลุ่มคนที่ได้นอนหลับเพียง 4.5 ชั่วโมงต่อคืน ติดต่อกันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เกิดความรู้สึกเครียดง่าย ฉุนเฉียว และเศร้า มีสภาวะทางอารมณ์ทางลบมากขึ้น และเมื่อกลับมานอนหลับตามปกติ กลับพบว่าสภาวะอารมณ์ค่อยๆ ดีขึ้นอย่างมาก
แหล่งอ้างอิง :
https://americanmigrainefoundation.org/resource-library/sleep/
https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Bruxism