ปวดแบบไหน ไม่เหมือนไมเกรน

 

เราคงจะรู้ๆ กันอยู่แล้วว่า ปวดไมเกรน เป็นอย่างไร ทรมานอย่างไร

แต่หลาย ๆ คนก็ไม่แน่ใจว่า นี่ฉันปวดไมเกรน จริงๆ รึป่าวนะ?!

นี่ชั้นเป็นโรคอื่นไหมน๊า

.

แล้วปวดแบบไหน ที่ไม่ใช่ไมเกรนหละ เราจะคิดถึงโรคอื่น ๆ

หากปวดหัว แบบนี้

.

  • ปวดใบหน้าและฟัน

อาการไมเกรนจะปวดหัว เบ้าตา ขมับ ท้ายทอย แต่จะไม่ปวดใบหน้าและฟัน เพราะว่า เส้นประสาทที่เลี้ยงความปวดมันคนละเส้่นกันหนะสิ เราเรียกว่า โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal neuralgia) 

.

เนื่องมาจากเส้นประสาทเกิดการอักเสบ เกิดจากหลอดเลือดบริเวณใกล้เคียงมากดทับ

ซึ่งโรคนี้สามารถพบได้ทั้งในผู้ชาย ผู้หญิง หรือแม้กระทั่งผู้สูงอายุ และต้องพบแพทย่เพื่อความชัวร์ 

และมีงานวิจัยบอกไว้ว่า โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า มันจะเกิดมากขึ้นกับชาวไมเกรนที่มีออร่า

.

  • ปวดครั้งไหนๆ ก็ปวดชิวๆ

ปวดไมเกรน จะมีอาการอักเสบเยื่อหุ้มประสาท และอาการปวด

บางครั้งมันจะมากจนกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ หากใครปวดชิว ๆ น่าจะต้องสังเกตและหาโรคอื่น ๆ นะ

.

  • ปวดฟ้าผ่า

แม้ว่าไมเกรน จะปวดหัวอย่างมาก แต่ธรรมชาติมันจะค่อย ๆ

ปวดมากขี้น โดยเริ่มต้นน้อย ๆ ก่อน ไอ้ที่ปวดรุนแรงทันที ทันใด ไม่ค่อยเจอ

.

เราเรียกอาการนี้ว่า thunderclap headache

Thunderclap นั่นก็แปลว่า ฟ้าผ่า ซึ่งลักษณะการปวดจะรุนแรง+กะทันหัน

เป็นอาการปวดที่มักไม่มีสัญญาณและสิ่งกระตุ้นอะไรเลย ซึ่งอาการปวดในลักษณะนี้มันจะเป็นสัญญาณของภาวะหลอดเลือดในสมอง และมักจะคุกคามชีวิตของเรา

.

อาการปวดแบบนี้มักจะถึงช่วงที่ปวดมากที่สุดประมาณ 30-60 วินาที ซึ่งอาการจะเริ่มดีขึ้นและหายไปภายใน 1 ชั่วโมง

.

นอกจากนั้นในช่วงที่มาอาการปวดศีรษะแบบฟ้าผ่า อาจจะมีอาการร่วมต่างๆด้วยได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นคลื่นไส้ อาเจียน หรือแม้กระทั่งเป็นลม

.

หลายๆ แหล่งข้อมูล หรือจากข้อมูลงานวิจัย ได้บอกไว้ว่า อาการปวดหัวแบบนี้ เกิดจากการที่มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของการไหลเวียนเลือดในสมอง ไม่ว่าจะมีปัญหาที่ตัวหลอดเลือด ได้รับอุบัติเหตุที่สมอง เลือดออกในสมอง หรือแม้กระทั่งภาวะสมองขาดเลือด

.

และมีอีกหนึ่งกลุ่มโรค ที่ชาวไมเกรนอย่างเราควรจะรู้และคอยสังเกตร่วมด้วย

.

โรคปวดศีรษะอีกกลุ่ม ที่สามารถทำให้เกิดอาการปวดศีรษะแปลกๆ และควรเข้าพบแพทย์

เราเรียกว่า โรคปวดศีรษะทุติยภูมิ เป็นโรคปวดศีรษะ ที่มีสาเหตุที่ชัดเจน มีที่มาที่ไป

เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างบริเวณศีรษะและคอ มีสาเหตุมาจากความผิดปกติในสมอง

.

ตัวโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มนี้ ยกตัวอย่างเช่น เนื้องอก เลือดออกในสมอง ฝีในสมอง หรือบางรายเคยได้รับอุบัติเหตุและศีรษะโดนกระแทก

โดยลักษณะอาการของโรคปวดศีรษะทุติยภูมิและบ่งบอกว่าอาการปวดศีรษะนั้นอาจจะเป็นอันตราย จะมีข้อสังเกต ดังนี้

  • ไม่เคยปวดหัวมาก่อน แต่ปวดทีปวดรุนแรง
  • มีอาเจียนพุ่งร่วมกับปวดหัวมาก
  • มีอาการปวดศีรษะมากขึ้น เมื่อไอ จาม เบ่ง ออกแรง
  • ปวดหัวครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 55 ปี
  • มีโรคประจำตัวร่วมด้วย เช่น โรคมะเร็ง โรคแพ้ภูมิตัวเอง
  • ปวดมานานมากกว่าสัปดาห์
  • มีอาการอ่อนแรงครึ่งซีกร่วมด้วย (เนื่องจากจะทำให้คล้ายคลึงกับโรคหลอดเลือดสมองได้)
  • มีอาการผิดปกติอย่างอื่น เช่น เห็นภาพซ้อน หลงลืม ปากเบี้ยว สับสน
  • ทานยาแก้ปวดบรรเทาอาการ อาการไม่ดีขึ้น

.

ในการวินิจฉัยโรคปวดปวดศีรษะแบบทุติยภูมิ นอกจากการซักประวัติเหมือนกับโรคปวดศีรษะไมเกรนแล้ว จะมีอีกหนึ่งการตรวจวินิจฉัยสำคัญ นั่นก็คือ การตรวจพิเศษทางระบบประสาท จะช่วยให้มองเห็นได้ชัดเจนว่ามีเนื้องอกหรือความผิดปกติอื่นๆ เกิดขึ้นที่สมองหรือไม่ และช่วยทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

.

การตรวจพิเศษทางระบบประสาท ได้แก่ 

  • เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (Brain CT) จะใช้ระยะเวลาตรวจประมาณ 10-15 นาที ต่อการตรวจอวัยวะ
  • การสร้างภาพด้วยคลื่นสะท้อนแม่เหล็ก (Brain MRI) จะใช้เวลาตรวจประมาณ 30-90 นาที
  • การเจาะน้ำไขสันหลัง (Lumbar puncture)

.

อาการปวดหัว เป็นอาการที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ ถ้าอาการเริ่มแตกต่างไปจากปกติ

แนวโน้มรุนแรง และไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดอีกครั้ง


แหล่งที่มา :

https://www.nonthavej.co.th/Headache-F.php

https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/disease-treatment/headache

https://www.sukumvithospital.com/healthcontent.php?id=3482

https://www.nakornthon.com/article/detail/รู้ก่อนตรวจ-ความแตกต่างสำคัญระหว่าง-mri-กับ-ct-scan

กลับไปยังบล็อก

แสดงความคิดเห็น

โปรดทราบว่าความคิดเห็นจะต้องได้รับการอนุมัติก่อนที่จะได้รับการเผยแพร่