ปวดหัวข้างเดียว อาการบ่งชี้ไมเกรน

ปวดหัวข้างเดียว อาการบ่งชี้ไมเกรน

ปวดหัวไมเกรน: อาการ สาเหตุ วิธีสังเกต และแนวทางรักษา

อาการปวดหัวเป็นสิ่งที่หลายคนเคยประสบ แต่ถ้าคุณรู้สึกว่าปวดหัวบ่อย และอาการรุนแรงถึงขั้นใช้ชีวิตไม่ได้ตามปกติ อาจเป็นไปได้ว่าคุณกำลังเผชิญกับ โรคไมเกรน ซึ่งแตกต่างจากอาการปวดหัวทั่วไปอย่างมาก

ในบทความนี้ เราจะพาคุณทำความรู้จักกับ ปวดหัวไมเกรน ตั้งแต่สาเหตุ ลักษณะอาการ วิธีสังเกต และแนวทางการรักษาที่เข้าใจง่าย



 

 


ปวดศีรษะข้างเดียว

 

 

ไมเกรนคืออะไร

ไมเกรน (Migraine) คืออาการปวดศีรษะเรื้อรังที่มักเกิดขึ้นเป็นระยะ โดยมีความรุนแรงตั้งแต่ปานกลางไปจนถึงรุนแรง และมักปวดหัว ข้างเดียว แต่บางรายก็อาจปวดสองข้างได้ อาการปวดไมเกรนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และไม่ใช่แค่การ “ปวดหัวธรรมดา”

แม้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่แพทย์เชื่อว่าไมเกรนเกี่ยวข้องกับ

  • พันธุกรรม
  • ความผิดปกติของสมอง
  • ปัจจัยกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม

     

อาการไมเกรน


อาการไมเกรน

 

ลักษณะเฉพาะของไมเกรน ได้แก่:
 

  • ปวดหัวแบบตุบ ๆ คล้ายชีพจร มักปวดข้างเดียว
  • คลื่นไส้ อาเจียน หากอาเจียนแล้วอาจรู้สึกดีขึ้น
  • ไวต่อแสง เสียง หรือกลิ่นมากผิดปกติ
  • ปวดศีรษะช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน
  • พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
  • บางรายมี “อาการออร่า” เช่น เห็นแสงกระพริบ เส้นซิกแซก หรือจุดบอดทางสายตา ก่อนเริ่มปวดหัว

     

ปัจจัยกระตุ้นไมเกรน

แสงแดดกระตุ้นปวดหัวไมเกรน

 

  • แสงแดด
  • อากาศร้อน
  • อาหาร เครื่องดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอลล์
  • ปวด คอ บ่า ไหล่หรือออฟฟิศซินโดรม
  • ประจำเดือน
  • เครียด
  • นอนไม่ตรงเวลา
  • นอนน้อย
  • เสียงดัง
  • กลิ่นควัน หรือ กลิ่นน้ำหอม
  • อื่นๆ

 

 

แบบประเมินไมเกรน

 

แบบประเมินไมเกรนที่แพทย์ทั่วโลกใช้ มีเพียง 3 ข้อเท่านั้น:

 

  1. มีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนหรือไม่
  2. ไวต่อแสงจนอยากอยู่ในที่มืดหรือไม่
  3. ปวดหัวจนไม่สามารถใช้ชีวิตหรือทำงานตามปกติได้อย่างน้อย 1 วันหรือไม่

 

หากคุณตอบ “ใช่” 2 ใน 3 ข้อนี้ มีโอกาสสูงว่าคุณอาจเป็นไมเกรน ควรเข้าพบแพทย์เพื่อประเมินอย่างละเอียดอีกครั้ง

 

 

ปวดระดับไหนควรพบแพทย์

 

 

หากคุณมีอาการตามด้านล่าง ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางทันที:

  • ปวดไมเกรนมากกว่า 4 วัน/เดือน
  • ต้องใช้ยาแก้ปวดบ่อยเกือบทุกวัน
  • อาการปวดส่งผลต่อการเรียนหรือการทำงาน ต้องลางานบ่อย
  • รู้สึกเครียดและวิตกกับอาการมากขึ้นเรื่อย ๆ

การได้รับยาป้องกันไมเกรนที่เหมาะสม จะช่วยลดความถี่และความรุนแรงได้
 

 

วิธีรักษาไมเกรน

 วิธีรักษาไมเกรน


การรักษาไมเกรนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่:

 

1. การรักษาขณะมีอาการ (Acute Treatment)

เน้นลดอาการปวดไมเกรนที่เกิดขึ้นทันที โดยใช้ยากลุ่มต่าง ๆ เช่น:

  • ยาแก้ปวดทั่วไป เช่น พาราเซตามอล, NSAIDs
  • ยาเฉพาะสำหรับไมเกรน เช่น กลุ่มทริปแทน (Triptans)
  • ยากลุ่มใหม่ CGRP แบบกิน เช่น Rimegepant

 

2. การรักษาแบบป้องกัน (Preventive Treatment)

 

เน้นลดความถี่และความรุนแรงของอาการไมเกรนในระยะยาว เหมาะกับผู้ที่ปวดไมเกรนมากกว่า 4 วันต่อเดือน เช่น:

 

  • ยาลดความดัน ยากันชัก ยาต้านซึมเศร้า (ที่ออกฤทธิ์ต่อสมอง)
  • ยาฉีดกลุ่ม Anti-CGRP เช่น Erenumab, Fremanezumab (ฉีดเดือนละ 1 ครั้ง)
  • การกระตุ้นเส้นประสาทด้วยเครื่อง เช่น เครื่อง ELEXIR
  • การดูแลแบบองค์รวม เช่น ปรับพฤติกรรม นอนให้เพียงพอ ลดความเครียด

 

 

การเลือกวิธีรักษาจะขึ้นอยู่กับความถี่และความรุนแรงของอาการ รวมถึงความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ซึ่งแพทย์เฉพาะทางจะเป็นผู้ประเมินและแนะนำให้ตรงจุดที่สุด
 
 

 

วิธีรักษาไมเกรนด้วย CGRP

 

ยากลุ่มใหม่ที่ได้รับความสนใจอย่างมากในการรักษาไมเกรน คือ ยา CGRP (Calcitonin Gene-Related Peptide) ซึ่งทำงานโดยตรงที่สาเหตุของไมเกรน ไม่ใช่แค่บรรเทาอาการชั่วคราว

 

ยา CGRP ทำงานอย่างไร?

CGRP เป็นสารในร่างกายที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัว และเกี่ยวข้องกับอาการปวดไมเกรน

ยา CGRP จะเข้าไป "บล็อก" สารนี้ ไม่ให้กระตุ้นการอักเสบหรือการขยายหลอดเลือดในสมอง

จึงช่วยลดโอกาสการเกิดไมเกรนตั้งแต่ต้นทาง


 

มีกี่แบบ?
 

  1. แบบฉีดใต้ผิวหนัง: เช่น Erenumab, Fremanezumab, Galcanezumab (ฉีดเดือนละ 1 ครั้ง หรือ 3 เดือนครั้ง)
  2. แบบกิน: เช่น Rimegepant (กินตอนเริ่มมีอาการ หรือกินป้องกันตามแพทย์แนะนำ)
  3. แบบดริปเข้าหลอดเลือด (IV Infusion): เช่น Eptinezumab เหมาะกับผู้ที่ต้องการผลลัพธ์รวดเร็ว ยาออกฤทธิ์ภายใน 24 ชั่วโมงหลังดริป และใช้เพียง 1 ครั้งทุก 3 เดือน
     

 

เปรียบเทียบยาไมเกรน CGRP ทั้ง 3 แบบ

 

 

เหมาะกับใคร?

  • ผู้ที่ปวดไมเกรนบ่อยกว่า 4 วันต่อเดือน
  • ผู้ที่ใช้ยาป้องกันแบบเดิมแล้วไม่ได้ผล หรือมีผลข้างเคียง
  • ผู้ที่ต้องการลดการใช้ยาแก้ปวดบ่อย ๆ
     

จุดเด่นของ CGRP

  • ออกฤทธิ์เฉพาะจุด ไม่ทำให้หลอดเลือดหดตัว จึงปลอดภัยกับผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดัน หรือเบาหวาน
  • ช่วยลดจำนวนวันปวด และความรุนแรงของอาการไมเกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ผู้ป่วยจำนวนมากรายงานว่าใช้แล้วคุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างชัดเจน

 

 

รักษาไมเกรนที่ไหนดี

ปัจจุบัน ไมเกรนสามารถรักษาออนไลน์ได้ โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาลหรือทำ CT Scan ทุกเคส

 

Smile Migraine: คลินิกรักษาไมเกรนออนไลน์แห่งแรกของไทย

 

 

ดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางระบบประสาท พร้อมระบบติดตามอาการ

หากคุณกำลังมองหา วิธีรักษาไมเกรนโดยไม่ต้องเดินทางไปรอคิวที่โรงพยาบาล Smile Migraine คือทางเลือกใหม่ที่คนไมเกรนกว่า 40,000 คนไว้วางใจ

 

 

 

 

25.06.25_-_Single_Ads_-_Cover.png

 

 

 จุดเด่นของ Smile Migraine

🔹 ที่แรกในไทย ที่ให้บริการ รักษาไมเกรนออนไลน์พร้อมระบบติดตามอาการ
🔹 ดูแลโดย ทีมแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทกว่า 25 คน
🔹 มีประสบการณ์ดูแล ผู้ป่วยไมเกรนกว่า 7,000 เคส ครอบคลุมทุกประเภท ทั้งไมเกรนเรื้อรัง ไมเกรนประจำเดือน ไมเกรนจากการใช้ยาเกิน ไมเกรนเวียนหัว ฯลฯ
🔹 ผู้ใช้งานมากกว่า 40,000 คน ใช้ระบบติดตามอาการไมเกรนภายในแอป Smile Migraine อย่างต่อเนื่อง

 

รักษาไมเกรนได้จากทุกที่

ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถเข้ารับการดูแลไมเกรนแบบมืออาชีพได้ง่าย ๆ ผ่านระบบออนไลน์ของ Smile Migraine
 ตั้งแต่...

 

  1. วิดีโอคอลปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง
  2. สั่งจ่ายยาโดยตรง พร้อมจัดส่งถึงบ้าน
  3. ติดตามอาการแบบรายเดือน พร้อมผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลต่อเนื่อง

 

ทำไมถึงควรเริ่มรักษาไมเกรนกับ Smile Migraine?

✅ ได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทางด้านสมองโดยตรง
✅ ไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องรอคิวนาน
✅ ติดตามอาการต่อเนื่อง ช่วยวางแผนการรักษาระยะยาว
✅ รองรับคนไข้จากทุกจังหวัดทั่วไทย
✅ ใช้งานง่าย ผ่านมือถือเครื่องเดียว


 

สรุป

ไมเกรนคือโรคที่มากกว่าแค่ “ปวดหัว” หากคุณหรือคนรอบตัวมีอาการที่ใกล้เคียง อย่ารอจนปวดบ่อยหรือใช้ยาเองบ่อยเกินไป เพราะยิ่งรักษาเร็ว โอกาสในการควบคุมไมเกรนก็ยิ่งดีขึ้น

✅ เริ่มดูแลไมเกรนของคุณตั้งแต่วันนี้ ด้วยแพทย์เฉพาะทางจาก Smile Migraine

📍 คลิกดาวน์โหลดแอป Smile Migraine หรือทักมาปรึกษาได้เลยค่ะ



 

21.04.25-_Single_Ads_-_CTA.png

กลับไปยังบล็อก

บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ